top of page

สนุกกับโมเลกุล: อัศจรรย์เคมีของสสารรอบตัวเรา (Molecules at Exhibition: Portraits of Intriguing Mater


สนุกกับโมเลกุล: อัศจรรย์เคมีของสสารรอบตัวเรา

แปลจาก Molecules at Exhibition: Portraits of Intriguing Materials in Everyday Life (1998)

เขียนโดย John Emsley แปลโดย ดร.ยุทธนา ตันติรุ่งโรจน์ชัย บรรณาธิการโดยอุทัย วงศ์ไวศยวรรณ โครงการจัดพิมพ์คบไฟ พิมพ์ครั้งที่สอง มิถุนายน 2551 (พิมพ์ครั้งแรก เมษายน 2550) จำนวน 408 หน้า ปกอ่อน

ISBN: 9789747799804

คำนำผู้แปล

คุณผู้อ่านที่หยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาทีแรกอาจจะรู้สึกงงเล็กน้อยกับชื่อหนังสือ "สนุกกับโมเลกุล" หรือในภาษาอังกฤษว่า Molecules at Exhibition ว่าเป็นเรื่องอะไรกันแน่ ตำราน่าเบื่อของสาขาวิทยาศาสตร์ที่ใช้สอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือเป็นเรื่องของงานศิลป์ปีนบันได อย่าเพิ่งวางนะครับ... ผมขอตอบให้คุณหายห่วง (และไม่วางหนังสือเล่มนี้ลง และนำมันไปชำระเงินที่เคาน์เตอร์) ว่านี่เป็นหนังสือสาระสนุก (popular science) ทางเคมีเกี่ยวกับโมเลกุลที่อยู่รอบตัว (และอาจอยู่ในตัว) คุณในมุมที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ลงเปิดอ่านต่อไปสิครับ คุณจะได้พบกับเรื่องราวหลากหลายที่น่าสนใจเหล่านี้ กาเฟอีน เสื้อเกราะกันกระสุน การทารุณกรรมด้วยพิษซาริน ประโยชน์ของนมแม่ แร่ธาตุที่ร่างกายที่ต้องการ อาหารสำหรับทารกในครรภ์ พลาสติก พลังงานทดแทน แก๊สธรรมชาติ ธาตุกัมมันตภาพและผองเพื่อนของมัน ลองอ่านดูสิครับ แล้วคุณจะรู้ว่าวิทยาศาสตร์ก็สนุกได้

ต้นฉบับหนังสือเล่มนี้ถูกเขียนในรูปแบบการจัดแสดงนิทรรศการที่รวบรวมภาพวาดเป็นหมวดหมู่อยู่ตามห้องต่างๆ ผู้แต่งได้รับแรงบันดาลใจซึ่งสังเกตได้จากชื่อหนังสือที่อ้างอิงถึงงานดนตรีคลาสสิก Pictures at an Exhibition ของคีตกวีชาวรัสเซีย มูสซอสกี (Modest Petrovich Mussorgsky: 1839-1881) ที่ใช้ดนตรีบรรยายถึงภาพวาดของวิกเตอร์ อาร์ทมันน์ (Viktor Alexandrovich Hartmann: 1834-1873) ดังนั้นการจัดแบ่งเรื่องราวในหนังสือจึงอาจดูแปลกไปจากหนังสือที่คุณเคยอ่าน แต่ผมก็หวังว่าคุณผู้อ่านคงได้รับอรรถรสที่แตกต่างไปในอีกรูปแบบหนึ่ง

ในฐานะผู้แปล ผมหวังว่าหนังสือเล่มนี้คงช่วยทำให้คุณเข้าใจและรู้จักโมเลกุลซึ่งเป็นตัวละครสำคัญของโลกเคมีมากกว่าจะคิดว่ามันเป็นอะไรที่ซับซ้อนเข้าใจยาก ห่างไกลตัว (เพราะมันอยู่รอบตัวคุณ!!!) ไม่ได้มีอคติและไม่ตื่นตระหนกเกินจริงต่อสารเคมี แต่ก็ไม่ได้เชื่ออย่างปักใจว่ามันเป็นคำตอบสุดท้ายของปัญหา ผมหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะทำหน้าที่ช่วยจุดคบไฟเล็กๆ แห่งความรู้และความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ให้แก่สังคมไทยในวงกว้าง ซึ่งเป็นปณิธานหนึ่งของทีมงานโครงการจัดพิมพ์คบไฟ

แนะนำหนังสือ

หนังสือเล่มนี้เริ่มต้นจากบทความหลายๆ เรื่องที่ผมเขียนให้กับหนังสือพิมพ์ วารสาร และสื่อสิ่งพิมพ์ของหลายๆ บริษัท บางเรื่องในหนังสือเล่มนี้มีต้นกำเนิดจากบทความที่ผมเขียนลงคอลัมน์ Molecule of the Month ในหนังสือพิมพ์ The Independent ในช่วง 6 ปี นับจากปี 1990-1996 เรื่องเบาๆ หลายเรื่องเคยได้รับการตีพิมพ์มาก่อนในคอลัมน์ Radicals ในวารสารเคมีอังกฤษ (Chemistry in Britain) ซึ่งเป็นวารสารรายเดือนสำหรับสมาชิกราชสมาคมเคมี (The Royal Society of Chemistry) และเรื่องบางเรื่องใน "สนุกกับโมเลกุล" มีที่มาจากชุดโมเลกุลส่วนตัวที่ผมรวบรวมรายละเอียดไว้เป็นโมเลกุลที่ผมสนใจเป็นพิเศษและได้โอกาสนำมาเผยแพร่เป็นครั้งแรกในที่นี้

การเขียนบทความให้กับหนังสือพิมพ์หรือวารสารนั้นเป็นการทำงานภายใต้เงื่อนเวลาและข้อจำกัดของขนาดคอลัมน์ ข้อจำกัดเหล่านี้บังคับให้จิตใจต้องจดจ่อกับเรื่องที่จะสื่อ แต่ก็มีข้อเสียคือทำให้ต้องตัดข้อมูลเพิ่มเติม เกร็ดปลีกย่อย ประวัติ รวมถึงมุมมองส่วนตัวออกไป ดังนั้นเมื่อได้โอกาสตีพิมพ์ในรูปหนังสือ ก็ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะใส่เรื่องราวเหล่านี้ที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดมุมมองที่กว้างขึ้นต่อโมเลกุล ซึ่งบางชนิดก็คุ้นเคยกันดี หรือโมเลกุลบางชนิดก็อาจปรากฏตัวในสื่อต่างๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ แล้วเราก็ไม่เคยได้ยินอีกเลย

ชื่อหนังสือ "สนุกกับโมเลกุล (Molecules at an Exhibition)" สื่อความคิดของผมว่าเหมือนเราเข้าเยี่ยมชมการจัดแสดงชุดของสารเคมีหรือโมเลกุลที่ผมนำมาเผยแพร่ โดยแต่ละเรื่องราวมีความสมบูรณ์ในตัวเองดุจดั่งภาพวาด ผมพยายามจัดให้มีความหลากหลายในแต่ละห้องจัดแสดงหมวดหมู่ให้มากที่สุด โดยแยกสารเคมีออกเป็น 8 ห้องจัดแสดงหมวดหมู่ด้วยกัน คุณอาจรู้สึกว่าสารเคมีบางตัวถูกจัดวางในหมวดหมู่ที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งหากผมจัดแสดงชุดสารเคมีในช่วงหลายปีก่อน ผมก็คงจะจัดวางโมเลกุลต่างๆ ในหมวดหมู่ที่แตกต่างไปจากปัจจุบัน มีโมเลกุลซึ่งเดิมเราเคยมองว่าไม่โสภาน่าอภิรมย์และเป็นอันตราย แต่มันกลับกลายมาเป็นโมเลกุลที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ตัวอย่างเช่นซีลีเนียมและไนตริกออกไซด์ ดังนั้นแทนที่จะจัดวางสารทั้งสองไว้ในหมวดหมู่สารอันตราย ผมก็จัดซีลีเนียมไว้ในส่วนของสารน่าอัศจรรย์ในอาหาร (ห้องจัดแสดงหมวดหมู่ที่ 1) และจัดไนตริกออกไซด์ไว้ในห้องจัดแสดงหมวดหมู่ที่ 3 ในหัวข้อของสารเคมีที่มีบทบาทต่อการมีเพศสัมพันธ์

นับแต่เคมีได้ถือกำเนิดในรูปของวิทยาศาสตร์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีการสังเคราะห์และค้นพบโมเลกุลนับล้านๆ ชนิด แต่มีเพียงน้อยนิด --อาจจะเพียงหนึ่งในพัน-- ที่มีความสำคัญต่อมนุษย์เรา โมเลกุลส่วนใหญ่ที่ก่อกำเนิดมานั้นมีวงชีวิตสั้นมากๆ วงชีวิตของพวกมันเป็นดังนี้: ค้นพบหรือสังเคราะห์ → ศึกษาตรวจสอบ → วัดค่าสมบัติเชิงกายภาพและเคมี → ตีพิมพ์รายงานในวารสารวิทยาศาสตร์หรือในสิทธิบัตร → แล้วก็หายไป ไม่มีใครอ้างถึงอีก โมเลกุลส่วนหนึ่งอาจถูกเก็บซ่อนไว้ในซอกหลืบของชั้นวางของ แต่ส่วนใหญ่จะหายสาบสูญไปกับกาลเวลา (ดร.อัลเฟรด เบเดอร์ (Alfred Bader: 1924-) ผู้ก่อตั้งบริษัทเคมีภัณฑ์ซิกม่าอัลดริช (Sigma-Aldrich Corporation) ได้พยายามรวบรวมและเก็บรักษาโมเลกุลเหล่านี้ไว้เพื่อนักเคมีในภายภาคหน้า)

อาจกล่าวได้ว่าเช่นเดียวกันกับผลงานศิลปะซึ่งน่าจะมีจำนวนมากกว่าโมเลกุลที่มนุษย์เคยสังเคราะห์ด้วยซ้ำ และส่วนใหญ่ก็เผชิญชะตากรรมของการถูกละทิ้งและสูญหายไปคล้ายๆ กัน เฉพาะผลงานศิลปะที่มีความสำคัญและมีคุณค่าจึงจะคงอยู่ได้ ซึ่งงานเหล่านั้นก็เป็นงานศิลปะที่เราเห็นอยู่ตามห้องจัดแสดงภาพหรือนิทรรศการ เมื่อคุณไปเยี่ยมชมนิทรรศการ คุณอาจมีโอกาสได้ชื่นชมงานศิลปะที่ทรงคุณค่าแต่ถูกสรรค์สร้างจากศิลปินที่ไม่เป็นที่รู้จักมากนักก็ได้ หากมองหนังสือเล่มนี้ด้วยมุมมองคล้ายๆ กันกับงานนิทรรศการทางศิลปะ ผมก็อยากเชิญชวนให้คุณเข้าเยี่ยมชมการจัดแสดงโมเลกุลในครั้งนี้ ผมอยากให้คุณได้มาเห็นและเข้าใจโมเลกุลในหมวดหมู่ต่างๆ เช่น หมวดอาหาร สุขภาพ พลาสติก อุปกรณ์ในบ้าน และการขนส่ง คุณอาจจะรู้จักโมเลกุลหรือสารเคมีส่วนใหญ่ที่นำมาจัดแสดงอยู่แล้ว แต่ผมก็หวังว่าคุณจะได้รู้จักมันมากยิ่งขึ้นเมื่อได้ศึกษามันอย่างถี่ถ้วน บางโมเลกุลอาจไม่เป็นที่รู้จัก แต่มันอาจมีบทบาทในชีวิตประจำวันของคุณอย่างที่คุณไม่เคยคาดคิดมาก่อน ผมหวังว่าคุณจะพบว่าการเยี่ยมชมนิทรรศการของโมเลกุลครั้งนี้เป็นประสบการณ์ที่สนุกสนานและแฝงไว้ด้วยประโยชน์

ไม่จำเป็นที่คุณจะต้องจบปริญญาทางศิลปศาสตร์เพื่อรู้สึกซาบซึ้งในงานศิลป์ชั้นเยี่ยม จบปริญญาทางดนตรีเพื่อรู้สึกรื่นภิรมย์ในยามฟังดนตรี จบนิเทศศาสตร์เพื่อดูหนังให้สนุก หรือต้องจบวรรณคดีเพื่อจะรู้สึกชื่นชมวรรณกรรมงานเขียนชั้นดีได้ ฉันใดก็ฉันนั้น คุณไม่จำเป็นต้องจบปริญญาทางเคมีเพื่อที่จะอ่านและเข้าใจเรื่องราวใน "สนุกกับโมเลกุล" เช่นกัน ในการเขียนหนังสือเล่มนี้ ผมไม่อยากให้ภาษาซึ่งเป็นสื่อ ทำตัวเป็นกำแพงกั้นความเข้าใจซึ่งมักเกิดขึ้นกับภาษาวิทยาศาสตร์ ผมจึงขออนุญาตที่จะไม่ใส่สูตรเคมี สมการ หรือโครงสร้างของโมเลกุลใดๆ เมื่อกล่าวถึงสารเคมีนั้นๆ ถ้าคุณมีความสนใจใคร่รู้เป็นพิเศษ ผมแนะนำให้คุณศึกษาเพิ่มเติมจากบรรณานุกรมท้ายเล่มนี้ ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ "สนุกกับโมเลกุล" มีห้องจัดแสดงโมเลกุล 8 หมวดหมู่ให้คุณได้เข้าเยี่ยมชมเลือกชมตามอัธยาศัย ภายในแต่ละห้องจัดแสดงมีเรื่องราวน่าทึ่งของโมเลกุลรอคุณอยู่

เพราะขนาดนั้นมันสำคัญเช่นฉะนี้

ผมหนัก 13 สโตน (stone: st.) ในระบบอังกฤษ 182 ปอนด์ (pound: lb, Roman libra for scales/balance) ในระบบอเมริกา และ 83 กิโลกรัม (kilogram: kg) ในระบบของยุโรป ผมสูง 6 ฟุต (feet: ft) ในระบบอังกฤษและระบบอเมริกา แต่สูง 1.83 เมตร (meter: m) ในระบบยุโรป ถ้าผมซื้อทราย 1 ตัน (ton) ที่สหราชอาณาจักร ผมก็จะได้ทรายมากกว่าที่สหรัฐอเมริกาซึ่ง 1 ตัน เท่ากับ 1,000 กิโลกรัม (2,205 ปอนด์) มีตัวอย่างมากมายที่ผมสามารถยกมาเพื่อให้คุณเห็นว่าปริมาณเดียวกันจะมีค่าแตกต่างกันในหน่วยต่างๆ เช่น หน่วยวัดในระบบอังกฤษ อเมริกา และเมตริก และตัวเลขที่เท่ากันในหน่วยที่ต่างกันก็อาจหมายถึงปริมาณที่ต่างกันได้

เพื่อป้องกันความสับสน วิทยาศาสตร์จึงกำหนดหน่วยวัดของตัวเองที่เรียกว่าระบบเอสไอ (SI - French Système International d'Unités, International System of Units) ซึ่งพัฒนามาจากระบบเมตริกของยุโรป ทำให้เราสามารถจะอ้างถึงปริมาณที่น้อยมากๆ ได้ซึ่งจำเป็นมากกับเคมี เนื่องจากเคมีเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับโลกเล็กๆ ที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่าซึ่งได้แก่ โลกของอะตอม โมเลกุล และสสารปริมาณน้อยมาก (trace quantity) ซึ่งปกติเราต้องทำการชั่งตวงวัดสารเคมีในปริมาณที่สัมพันธ์กับการวัดในระดับขนาดที่ใหญ่กว่า แล้วมาแปลงให้อยู่ในระดับหรือขนาดที่เราสนใจ ถ้าคุณไม่ค่อยคุ้นเคยกับระบบนี้มากนัก ผมมีตัวอย่างมาช่วยเสริมความเข้าใจ

น้ำหนักเฉลี่ยของผู้ใหญ่นั้นประมาณ 11 สโตน เท่ากับ 154 ปอนด์หรือ 70 กิโลกรัม เอาเป็นว่าเราสนใจตัวเลขในระบบสุดท้ายดีกว่า

70 กิโลกรัม มีความหมายเท่ากับ 70 พันเท่าของกรัม (gram: g)

70 ล้านเท่าของมิลลิกรัม (milligram: mg)

70 พันล้านเท่าของไมโครกรัม (microgram: μg)

จากตัวอย่างข้างต้น ระดับขนาดที่เราใช้บอกปริมาณน้อยๆ อาจนำมาแยกพิจารณาได้ดังนี้

1 กรัม มีน้ำหนักประมาณเท่าเมล็ดถั่วลิสง

1 มิลลิกรัม มีน้ำหนักประมาณเท่าเมล็ดทราย

1 ไมโครกรัม มีน้ำหนักประมาณเท่าเศษฝุ่นละออง

โมเลกุลส่วนมากที่พบรอบตัวเรา ในดิน ในน้ำ ในอากาศ หรือแม้แต่ในตัวเรา มีอยู่ในปริมาณน้อยมากๆ เมื่อเราพูดถึงปริมาณน้อยๆ เหล่านี้ บางครั้งเราพูดถึงปริมาณของมันโดยเทียบกับปริมาณของสสารทั้งหมด

น้อย (small) ใช้บรรยายปริมาณในช่วงเศษทศนิยมของเปอร์เซ็นต์ เช่น 0.1% (หนึ่งกรัมในหนึ่งกิโลกรัม)

น้อยมาก (tiny) ใช้บรรยายปริมาณในช่วงหนึ่งส่วนในล้านส่วนหรือพีพีเอ็ม (ppm - part per million) ซึ่งเทียบได้กับปริมาณหนึ่งกรัมในล้านกรัม หรือหนึ่งกรัมในหนึ่งตัน (หนึ่งตัน เท่ากับ หนึ่งล้านกรัม)

น้อยมากมาก (incredibly small) ใช้บรรยายปริมาณในช่วงหนึ่งส่วนในพันล้านส่วน หรือพีพีบี (ppb - part per billion) ซึ่งเทียบเท่ากับหนึ่งมิลลิกรัมในหนึ่งตัน)

น้อยมากมากมาก (unbelievably small) ใช้บรรยายปริมาณในช่วงหนึ่งส่วนในล้านล้านส่วน หรือพีพีที (ppt - part per trillion) ซึ่งเท่ากับหนึ่งไมโครกรัมในหนึ่งตัน (ในแง่ของเวลา 1 ppt เท่ากับ 1 วินาทีใน 30,000 ปี)

สารเคมีบางชนิดถูกผลิตได้ในปริมาณมาก เช่น จากกระบวนการในโรงงานอุตสาหกรรมจะใช้หน่วยวัดปริมาณในระดับขนาดที่เราคุ้นเคย เช่น กิโลกรัมหรือลิตรในระบบเมตริก ซึ่งมวลสารกับปริมาตร (กิโลกรัมกับลิตร) มีความสัมพันธ์กัน (ผ่านความหนาแน่น) อาจพิจารณากรณีที่ง่ายที่สุดคือน้ำ ซึ่งน้ำ 1 ลิตรหนัก 1 กิโลกรัม สารปริมาณมากๆ จะอธิบายด้วยหน่วยตัน เช่น แท็งก์น้ำที่มีพื้นที่ฐาน 1 ตารางเมตร สูง 1 เมตร จะบรรจุน้ำได้ 1 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งหนัก 1 ตัน (1,000 กิโลกรัม) หรืออาจกล่าวว่า 1 ลูกบาศก์เมตรเท่ากับ 1,000 ลิตร (1 ลิตรเท่ากับประมาณ 1 ควอร์ต (quart))

Sulfur หรือ Sulphur

ชาวอังกฤษหรือชาวประเทศในเครือจักรภพ ((Commonwealth) สะกดชื่อของธาตุกำมะถันว่า sulphur และสะกดสารอนุพันธ์จากกำมะถันว่า sulphides,, sulphates เป็นต้น ซึ่งเหตุผลที่สะกดเช่นนั้นมีที่มาในอดีต ในขณะที่สมาพันธ์นักเคมีนานาชาติ (IUPAC - International Union of Pure and Applied Chemistry) แนะนำว่าตัวสะกดที่ถูกต้องควรจะเป็น sulfur ส่วนอนุพันธ์ก็ควรจะสะกดเป็น sulfides และ sulfates แนวทางของสมาพันธ์ดูจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง เนื่องจากคำนี้มีที่มาจากรากศัพท์ละติน sulfur ผมซึ่งเป็นคนอังกฤษยังสองจิตสองใจอยู่ว่าจะสะกดแบบใดดี แต่ก็รู้สึกว่าเราน่าจะปฏิบัติตามคำแนะนำของ IUPAC

คุณผู้อ่านบางท่านอาจสงสัยว่าทำไมธาตุฟอสฟอรัสถึงสะกดว่า phosphorus แทนที่จะเป็น fosforur เหตุผลก็มีที่มาจากรากศัพท์อีกเช่นกัน ในกรณีนี้มาจากคำภาษากรีก 2 คำคือ phos หมายถึงแสง และ phorus หมายถึงก่อกำเนิด (หัวไม้ขีดไฟก็มีสารฟอสฟอรัส)

[con·tin·ue]

ห้องจัดแสดงหมวดหมู่ที่ 1 (Gallery 1)

ดุจดั่งที่ธรรมชาติต้องการ: การจัดแสดงโมเลกุลน่าสนใจในอาหาร (Nearly as Nature Intended: An Exhibition of Some Curious Molecules in the Foods We Eat)

[ภาพที่ 1] ฝันของชาวแอสเท็คส์: เฟนิลเอทธิลามีน (Aztec Dreams: Phenylethylamine)

[ภาพที่ 2] พายรูบาบ: กรดออกซาลิก (Rhubarb Pie: Oxalic Acid)

[ภาพที่ 3] ปริศนา โคคา-โคล่า: กาเฟอีน (The Coca-Cola Conundrum: Caffeine)

[ภาพที่ 4] สารกำจัดสนิม: กรดฟอสฟอริก (Rust Remover: Phosphoric Acid)

[ภาพที่ 5] คำสาปของยาเทวดา: ไดโพรพีนิลไดซัลไฟด์ (The Curse of the Cure-All: Dipropenyl Disulfide)

[ภาพที่ 6] กลิ่นเหม็นที่สุดในโลก: เมทธิลเมอร์เคปเทน (The Worst Smell in the World: Methyl Mercaptan)

[ภาพที่ 7] ยาจีน: ซีลีเนียม (Chinese Medicine: Selenium)

[ภาพที่ 8] สุขภาพของหัวใจ: ซาลิซิเลท (The State of the Heart: Salicylates)

[ภาพที่ 9] ผมถูกใส่ความ: พทาลเลท (Those Unspeakable Molecules: Phthalates)

ห้องจัดแสดงหมวดหมู่ที่ 2 (Gallery 2)

ทดสอบโลหะ: การจัดแสดงโลหะที่จำเป็นต่อร่างกาย (Testing Your Metal: An Exhibition of the Metals Which Our Body Must Have)

[ภาพที่ 1] กระดูกสุดทน: แคลเซียมฟอสเฟต (Bone Idle: Calcium Phosphate)

[ภาพที่ 2] ไม่มีอะไรแทนเกลือได้: โซเดียมคลอไรด์ (There is no Substitute for Salt: Sodium Chloride)

[ภาพที่ 3] สวยประหาร: โพแทสเซียมคลอไรด์ (Perfect and Poisonous: Potassium Chloride)

[ภาพที่ 4] ธาตุลึกลับ: เหล็ก (The Enigmatic Element: Iron)

[ภาพที่ 5] เบาน่าทึ่ง: แมกนีเซียม (Amazingly Light: Magnesium)

[ภาพที่ 6] จิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้าย: สังกะสี (The Missing Link: Zinc)

[ภาพที่ 7] สำริดและสุดสวย: ทองแดง (Bronzed and Beautiful: Copper)

[ภาพที่ 8] รวมญาติ: ดีบุก วานาเดียม โครเมียม แมงกานีส โมลิบดินัม โคบอลต์ และนิกเกิล (A Family Portrait: Tin, Vanadium, Chromium, Manganese, Molybdenum, Cobalt and Nickel)

ห้องจัดแสดงหมวดหมู่ที่ 3 (Gallery 3)

เกิด แก่ เจ็บ ตาย: การจัดแสดงโมเลกุลเสริมและสลายชีวิต (Starting Lives, Saving Lives, Screwing Up Lives: An Exhibition of Molecules That Can Help and Harm the Young)

[ภาพที่ 1] เพื่อทารกในครรภ์: กรดโฟลิก (Protecting the Unborn: Folic Acid)

[ภาพที่ 2] อิ่มอุ่น: กรดอะแรคคิโดนิก (Mother's Milk: Arachidonic Acid)

[ภาพที่ 3] เคมีในมุ้ง: ไนตริกออกไซด์ (Sexual Chemistry: Nitric Oxide)

[ภาพที่ 4] วิกฤตของนอแรด: เคราติน (The Horns of a Dilemma: Keratin)

[ภาพที่ 5] จูบเย้ยจันทร์: มิสเซิลโท (A Kiss at Christmas: Mistletoe)

[ภาพที่ 6] คืนนั้นก่อนวันคริสต์มาส: เพ็นนิซิลลิน (TWAS the Night Before Christmas: Penicillin)

ห้องจัดแสดงหมวดหมู่ที่ 3a (Gallery 3a)

ส่วนต้องห้าม: เข้าเยี่ยมชมได้เฉพาะผู้ได้รับอนุญาตเท่านั้น (Private Collection: Restricted Viewing Only)

[ภาพที่ 7] ล่องลอยเหนือนภา: ยาเอ็กซทาซี (On the Wings of a Dove: Ecstasy)

[ภาพที่ 8] กำจัดจุดอ่อน: โคเคน เฮโรอีน และยาเสพติดสังเคราะห์อื่นๆ (Turning Off the Drugs Tap: Cocaine, Heroin and Designer Drugs)

[ภาพที่ 9] นิสัยเสีย: นิโคติน (Nasty Habit: Nicotine)

[ภาพที่ 10] เลีย(กบ) หรือดูด(บุหรี่) ก็สุดๆ ได้เหมือนกัน: อีพิบาทิดีน (Smoke a Cig or Lick a Frog: Epibatidine)

[ภาพที่ 11] หลับฝันดี: เมลาโทนิน (Perchance to Dream: Melatonin)

ห้องจัดแสดงหมวดหมู่ที่ 4 (Gallery 4)

บ้านเราแสนสุขใจ: การจัดแสดงสารชำระล้าง สารอันตราย สารสร้างสุข และสิ่งลวงตาในครัวเรือน (Home, Sweet Home: An Exhibition of Detergents, Dangers, Delights and Delusions)

[ภาพที่ 1] รักษาความสะอาดนะคนดี: สารลดแรงตึงผิว (Keep It Clean: Surfactants)

[ภาพที่ 2] ยกฟ้องทุกข้อกล่าวหา: ฟอสเฟต (Tried and Found Innocent: Phosphates)

[ภาพที่ 3] บุรุษชุดขาว: เพอร์ฟลูออโรพอลิอีเธอร์ (The Man in the White Suit: Perfluoroplyethers)

[ภาพที่ 4] กำจัดเชื้อโรค: โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (Zap the Germs: Sodium Hypochlorite)

[ภาพที่ 5] ใสแจ๋วในม่านหมอกแห่งความเร้นลับ: แก้ว (Crystal Clear and Clouded in Mystery: Glass)

[ภาพที่ 6] ทำจากอะไร (1): เอทธิลอะคริเลต (What's It Made From? (1): Ethyl Acrylate)

[ภาพที่ 7] ทำจากอะไร (2): มาเลอิกแอนไฮไดรด์ (What's It Made From? (2): Maleic Anhydride)

[ภาพที่ 8] ภัยร้ายในบ้าน: คาร์บอนมอนอกไซด์ (Danger in the Home: Carbon Monoxide)

[ภาพที่ 9] ความลับรสขมของความปลอดภัย: บิทเทร็กซ์ (The Bitter Secret of Safety: Bitrex)

[ภาพที่ 10] ธาตุจากสวรรค์ (1): เซอร์โคเนียม (Elements from Heaven (1): Zirconium)

[ภาพที่ 11] ธาตุจากสวรรค์ (2): ไทเทเนียม (Elements from Heaven (2): Titanium)

ห้องจัดแสดงหมวดหมู่ที่ 5 (Gallery 5)

สารพันธุ์ใหม่กับข้อสงสัยไร้แก่นสาร: การจัดแสดงโมเลกุลช่วยอำนวยความสะดวกแก่เรา (Material Progress and Immaterial Observations: An Exhibition of Molecules That Make Life a Little Easier)

[ภาพที่ 1] เจาะเวลาหาอดีต: เทนเซล (Back to the Future: Tencel)

[ภาพที่ 2] แผ่นเสื้อพลาสติกและบิลเลียดระเบิด: เซลลูลอยด์ (Plastic Dickies and Exploding Balls: Celluloid)

[ภาพที่ 3] ฉันยอม ฉันยอม ยอมเธอทุกอย่าง: เอทธิลีน (Bend Me, Shape Me, Any Way You Want Me: Ethylene)

[ภาพที่ 4] แฮปปี้ดีพร้อม: พอลิโพรพิลีน (Cheap and Cheerful: Polypropylene)

[ภาพที่ 5] ไปไกลสุดกู่ทั้งบนโลกและสรวงสวรรค์: เทฟลอน (Going to Extremes on Earth and in the Heavens: Teflon)

[ภาพที่ 6] กำจัดส่วนเกิน: พอลิเอทธิลีนเทเรพทาลเลท (Getting Rid of Unwanted Pets: Polyethylene Terephthalate)

[ภาพที่ 7] แนบชิดปลอดภัย: พอลิยูรีเธน (Sexy and Safe: Polyurethane)

[ภาพที่ 8] ฉากหนังและภาชนะอาหารจานด่วน: พอลิสไตรีน (Film Set Fun and Fast Food Flaw: Polystryrene)

[ภาพที่ 9] แข็งแกร่งกว่าเหล็ก: เคฟลาร์ (Stronger Than Steel: Kevlar)

ห้องจัดแสดงหมวดหมู่ที่ 6 (Gallery 6)

ความหลอกลวง ความห่วงใย และบทวิพากษ์สิ่งแวดล้อม: การจัดแสดงโมเลกุลที่ตามประชิดโลกทุกย่างก้าว (Landscape Room; Environmental Cons, Concerns and Comments: An Exhibition of Molecules That Stalk the World)

[ภาพที่ 1] ขอเพียงอากาศให้ฉันหายใจ: ออกซิเจน (The Air That We Breathe: Oxygen)

[ภาพที่ 2] เจ้าเฉื่อย: ไนโตรเจน (So Much and So Unreactive: Nitrogen)

[ภาพที่ 3] โดดเดี่ยวผู้น่ารัก: อาร์กอน (The Lazy Loner That Does a Lot: Argon)

[ภาพที่ 4] มากน้อยเกินไปไม่ตามใจผู้อยู่อาศัย: โอโซน (Too High and Too Low for Comfort: Ozone)

[ภาพที่ 5] ฝนกรด ไวน์เก่า และมันฝรั่งสีขาว: ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Acid Rain, Vintage Wine and White Potatoes: Sulfur Dioxide)

[ภาพที่ 6] ยาพิษแสนดีที่มีมากเกินไป: ดีดีที (Too Much of a Good Toxin: DDT)

[ภาพที่ 7] โรควัวบ้าปะทะนักเคมีที่บ้ากว่า: ไดคลอโรมีเธน (Mad Cows and Madder Chemists: Dichloromethane)

[ภาพที่ 8] มีแต่น้ำ น้ำ น้ำ: น้ำ (Water, Water Everywhere: H2O)

[ภาพที่ 9] ประปาใสสะอาด: อะลูมิเนียมซัลเฟต (Water White and Crystal Clear: Aluminium Sulfate)

ห้องจัดแสดงหมวดหมู่ที่ 7 (Gallery 7)

เคลื่อนไปโดยไร้จุดหมาย: การจัดแสดงโมเลกุลเกี่ยวข้องกับการคมนาคมขนส่ง (We're on the Road to Nowhere: An Exhibition of Molecules to Transport Us)

[ภาพที่ 1] เชื้อเพลิงฟอสซิล: คาร์บอน (Fuel Fossils: Carbon)

[ภาพที่ 2] ปลูกน้ำมันรถไว้ใช้เอง: เอทธานอล (Grow Your Own Petrol: Ethanol)

[ภาพที่ 3] แปลงถ่านหินให้เป็นน้ำมัน: เมทธานอล (Turning Coal into Petrol: Methanol)

[ภาพที่ 4] ทุ่งรวงทอง: เรปเมทธิลเอสเตอร์ (Fields of Gold: Rape Methyl Ester)

[ภาพที่ 5] เชื้อเพลิงทั้งเย็นทั้งสะอาด: ไฮโดรเจน (Clean and Cold: Hydrogen)

[ภาพที่ 6] ภายใต้ความกดดัน: มีเธน (Under Pressure: Methane)

[ภาพที่ 7] เพื่อถนนที่ปลอดภัยกว่า: เบนซีน (Making the Streets Safe: Benzene)

[ภาพที่ 8] สีแดงแรงฤทธิ์: ซีเรียม (A Breath of Red Magic: Cerium)

[ภาพที่ 9] ปกป้องต้นไม้กันเถอะ: แคลเซียมแมกนีเซียมอะซิเตท (Spare the Trees: Calcium Magnesium Acetate)

[ภาพที่ 10] โครม! แต่ไม่ตาย: โซเดียมเอไซด์ (Bang! You're Not Dead!: Sodium Azide)

ห้องจัดแสดงหมวดหมู่ที่ 8 (Gallery 8)

ธาตุจากอเวจี: การจัดแสดงโมเลกุลที่ประสงค์ร้ายต่อมนุษย์ (Elements from Hell: An Exhibition of Molecules That Are Mainly Malevolent)

[ภาพที่ 1] เร็วและตายสนิท: ซาริน (The Quick and the Dead: Sarin)

[ภาพที่ 2] ยินกับโทนิกไหมจ๊ะที่รัก: อะโทรพีน (Fancy a Gin and Tonic, Dear?: Atropine)

[ภาพที่ 3] สลายฝูงชน: แก๊สซีเอส (The People Are Revolting: CS Gas)

[ภาพที่ 4] ตายแนวใหม่: เบริลเลียม (A Novel Way to Die: Beryllium)

[ภาพที่ 5] ผมถูกวางยา: ตะกั่ว (Poisoned by Stealth: Lead)

[ภาพที่ 6] หมดแล้วอย่าลืมนำมาใช้ใหม่: แคดเมียม (Running Down Your Batteries: Cadmium)

[ภาพที่ 7] ล้านแล้วจ้า: ธาลเลียม (A Novel Way of Falling Out: Thallium)

[ภาพที่ 8] เพลงโศกสำหรับโมสาร์ท: แร่พลวง (Requiem for Mozart: Antimony)

[ภาพที่ 9] สกปรกรกโลก: พลูโทเนียม (Polluting the Planet: Plutonium)

[ภาพที่ 10] กัมมันตรังสีช่วยชีวิต: อเมริเซียม (Radioactive Lifesaver: Americium)

[ภาพที่ 11] เห็นฝั่งแล้ว!: ธาตุหมายเลข 114 (Land Ahoy!: Element 114)

เกี่ยวกับผู้เขียน

ดร.จอห์น เอ็มสเลย์ (John Emsley) เคยเป็นอาจารย์สอนเคมีที่มหาวิทยาลัยลอนดอน (University of London) เป็นเวลา 25 ปี และมีผลงานทางวิชาการตีพิมพ์มากกว่า 100 เรื่อง ปัจจุบันเป็นนักเขียนทางวิทยาศาสตร์ประจำภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge) เขายังได้เขียนคอลัมน์ Molecule of the Month ให้กับหนังสือพิมพ์ The Independent ในช่วงปี 1990-1996 ซึ่งคอลัมน์นี้ทำให้ผู้อ่านจำนวนมากเข้าใจถึงความสำคัญของเคมีต่อชีวิตประจำวัน ในปี 1993 เขาได้รับรางวัลแกลกโซ (Glaxo Award) สำหรับงานเขียนในเชิงวิทยาศาสตร์ ปีต่อมาเขาได้รับรางวัลเพรสซิเดนท์จากสมาคมอุตสาหกรรมเคมี (Chemical Industries Association's President's Award) สาขาการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ และในปี 1995 หนังสือเรื่อง The Consumer's Good Chemical Guide ของเขาได้รับรางวัลหนังสือวิทยาศาสตร์ดีเด่นโรน-ปูลอง (Rhône-Poulenc Science Book Price)

เกี่ยวกับผู้แปล

ดร.ยุทธนา ตันติรุ่งโรจน์ชัย จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาเคมี (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากมหาวิทยาลัยมหิดล ปริญญาเอกสาขาเคมีทฤษฎี (Theoretical Chemistry) จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge) ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ที่ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผลงานวิจัยทางด้านเคมีทฤษฎีและเคมีคำนวณ เขาได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่จากสมาคมวิทยาศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ในปี 2548

 

"Reading make a full man, conference a ready man, and writing an exact man. การอ่านทำให้เป็นคนที่สมบูรณ์ การเสวนาทำให้เป็นคนที่พร้อม และการเขียนทำให้เป็นคนที่เที่ยงตรง" - Francis Bacon (1561-1626)

Reading & Working: ยิ่งอ่านก็ยิ่งรู้! ยิ่งทำงานก็ยิ่งเก่ง! หนังสือแปลคัดสรรบนชั้นหนังสือส่วนตัว Beautiful Quietness: เงียบแต่ไม่เหงา! ดินแดนแห่งการอ่านและพื้นที่ทางความคิด โลกของนักอ่านและพรมแดนแห่งความรู้ การอ่านสะท้อนความคิด ความคิดสะท้อนตัวตน ตัวตนสะท้อนจิตวิญญาณ Changing Lives, One Book at a Time ห้องสมุดมีชีวิต ...ชีวิตดีๆ ทีละเล่ม อ่านเถิดชาวไทย! การอ่านคือรากฐานที่สำคัญ [อากาศ อาหาร การอ่าน] If you don't like to read, you haven't found the right book. Readers of the World. pruetsara.wixsite.com

 
bottom of page