top of page

ปรับตัว: ทำไมความสำเร็จมักเริ่มที่ความผิดพลาด (Adapt: Why Success Always Starts with Failure)


หนังสือแปลชุดเศรษฐศาสตร์น่ารู้ (Economics Series)

ปรับตัว: ทำไมความสำเร็จมักเริ่มที่ความผิดพลาด

แปลจาก Adapt: Why Success Always Starts with Failure (2011)

เขียนโดย Tim Harford แปลโดยอรนุช อนุศักดิ์เสถียร สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2555 จำนวน 384 หน้า ปกอ่อน ISBN: 9789740209997

ล้มให้เป็น ลุกให้ไว ปรับให้ได้ เปลี่ยนให้ดี ในโลกที่ผู้คนแสวงหาความแน่นอน ความผิดพลาดถูกมองเป็นความล้มเหลว เป็นจุดจบของอาชีพ ของความก้าวหน้า และของความหวัง แต่มันเป็นอย่างนั้นจริงหรือ?

"หนังสือเล่มนี้ยอดเยี่ยมและน่าทึ่ง ฮาร์ฟอร์ดค้นคว้าข้อมูลได้อย่างน่าประทับใจและให้แรงบันดาลใจด้วย การเปิดรับความล้มเหลวส่อนัยที่สำคัญ ทั้งต่อนโยบาย การทำงานและชีวิตส่วนตัว คนที่รับราชการ ทำงานภาคเอกชน หรือกำลังจะเริ่มชีวิตการทำงานทุกคนควรอ่าน รวมถึงเราทุกคนที่พยายามทำความเข้าใจกับโลกที่ซับซ้อนขึ้นทุกขณะด้วย" - Gillian Tett (1967-) บรรณาธิการอำนวยการประจำสหรัฐอเมริกาของหนังสือพิมพ์ Financial Times และผู้เขียน Fool's Gold: How Unrestrained Greed Corrupted a Dream, Shattered Global Markets and Unleashed a Catastrophe (2009)

คำนำสำนักพิมพ์

ใครบอกว่าผิดพลาดแล้วต้องจบเห่ ต้องเก็บกระเป๋ากลับบ้าน ต้องเลิกคิดเลิกฝันถึงอนาคต ทุกวันนี้ใครยังคิดแบบนั้นก็เชยเต็มที อย่างที่ทิม ฮาร์ฟอร์ด นักเศรษฐศาสตร์และนักเขียนคนดัง เจ้าของผลงานนักสืบเศรษฐศาสตร์ (The Undercover Economist, 2005) จะมายืนยันในหนังสือเล่มใหม่ของเขาว่าสิ่งที่คุณต้องจำให้ขึ้นใจคือ "ผิดเป็นครู"

"Adapt หรือปรับตัว" เป็นผลงานเล่มใหม่ของฮาร์ฟอร์ดที่ใช้เวลาเขียนหลายปีและลองผิดลองถูกอยู่นาน เขาใช้ทั้งประสบการณ์ตรงและตัวอย่างที่โดดเด่นมาเล่าสู่กันฟังด้วยสำนวนภาษาอ่านสนุกที่เป็นเอกลักษณ์ เนื้อหาของหนังสือตอกย้ำประเด็นว่าความผิดพลาดคือสิ่งสำคัญที่หากเรารู้จักนำมาพลิกแพลง (variation) คัดเลือก (selection) แล้วปรับตัว (adaptation) ความสำเร็จก็รออยู่ไม่ไกล

ข้อคิดเรื่องการปรับตัวไม่ได้มีประโยชน์แค่เรื่องเศรษฐกิจ การเงิน หรือการลงทุน แต่ใช้ได้กับทุกเรื่องในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นด้านการงาน ชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่ความสัมพันธ์ ดังที่ฮาร์ฟอร์ดได้ยกตัวอย่างดีๆ เห็นภาพชัดเจนไว้มากมาย เช่น กลยุทธ์การรบของกองทัพสหรัฐในอิรัก การแก้ปัญหาโลกร้อน การปรับตัวของปลาหางนกยูง การซื้อกาแฟสักแก้ว (แฟนๅ นักสืบเศรษฐศาสตร์คงจะคุ้นกับตัวอย่างนี้เป็นอย่างดี) หรือแม้แต่การปิ้งขนมปัง สรุปคือไม่ว่าเรื่องเล็กน้อยหรือใหญ่โตแค่ไหนก็ต้องอาศัยการรู้จักเรียนรู้และปรับตัวจากความผิดพลาดทั้งนั้น

ว่ากันตามจริง วิธีล้มแล้วค่อยลุกแบบนี้ย่อมไม่ใช่วิธีที่มนุษย์เราคุ้นเคย เพราะความสำเร็จคือสิ่งที่ทุกคนต้องการทันที ไม่มีใครนึกฝันให้ตัวเองผิดพลาดหรือล้มเหลวก่อนแล้วค่อยประสบความสำเร็จ แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงไม่มีใครชนะอยู่ตลอดเวลา สิ่งสำคัญคือเรารู้จักใช้ความพ่ายแพ้ให้เป็นประโยชน์ได้มากแค่ไหน อย่างที่ฮาร์ฟอร์ดบอกไว้ว่า "เราคงจะต้องยอมทำผิดพลาดมากมายและเรียนรู้จากข้อผิดพลาดเหล่านั้น แทนที่จะปิดบัง กลบเกลื่อน หรือแม้กระทั่งโกหกตัวเอง วิธีนี้จะคนละเรื่องกับวิธีสร้างความสำเร็จในอดีตของเรา"

หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่คู่มือประเภทฮาวทูหรือคำแนะนำสร้างเงินสร้างทอง แต่เป็นคู่มือที่จะกระตุ้นเตือนใจให้เรามองโลกในแง่มุมใหม่ เป็นแง่มุมที่พลิกจากธรรมเนียมปฏิบัติเก่าๆ ที่เคยมีมา และเปิดโอกาสให้ตนเองได้เรียนรู้จากสิ่งที่เคยมองเมิน หากคุณเคยประทับใจกับ "นักสืบเศรษฐศาสตร์หรือเศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต" มาแล้ว หนังสือเล่มนี้จะเปิดอีกมุมคิดใกล้ตัวที่มีค่ายิ่งสำหรับทุกคนที่ยังต้องวนเวียนอยู่ในโลกที่ความสำเร็จและความผิดพลาดเป็นของคู่กัน

คำนำผู้แปล

"ชีวิตคือการทดลอง" ฟังแล้วเหมือนเราเป็นนักทดลองสวมเสื้อกาวน์สีขาวทำงานอยู่ในห้องปฏิบัติการทันสมัย ไม่ว่าจะใช่มุมมองที่คนทั่วไปมองตัวเอง แต่นั่นคือภาพที่ปรากฏในหัวเมื่อได้ยินข้อสรุปของวิทยากรบนเวทีบอกเล่าประสบการณ์ชีวิตตัวเอง การลองโน่นลองนี่ทำให้ค้นพบสิ่งที่ชอบ สิ่งที่ใช่ ยิ่งเมื่อครูบาอาจารย์ให้โอกาสยิ่งได้เรียนรู้ บ่มเพาะฝึกปรือฝีมือ ถึงจะล้มเหลวก็ไม่ย่อท้อ มุ่งมั่นปรับเปลี่ยนพัฒนาตนเองจนประสบความสำเร็จในวันนี้ จะว่าไปนี่น่าจะเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมที่สุดตัวอย่างหนึ่งของความคิดเรื่องการปรับตัวที่ฮาร์ฟอร์ดนำเสนอในหนังสือเล่มนี้ แต่ฮาร์ฟอร์ดยังมาเหนือชั้นยิ่งกว่านั้น (ตามสไตล์)

นอกจากจะหยิบความคิดที่แพร่หลายในแวดวงชีววิทยาวิวัฒนาการมาจับเรื่องใกล้ตัวแล้ว เขายังนำความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการและการปรับตัวมาอธิบายเรื่องไกลตัวด้วย เช่น การเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬารในอุตสาหกรรมเทคโนลยีการสื่อสาร ความก้าวหน้าทางการแพทย์ นวัตกรรมการออกแบบสร้างสรรค์ ไปจนถึงการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การรบของสหรัฐในอิรัก

ฮาร์ฟอร์ดดึงข้อมูลจากหลากหลายวงการเพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการทดลอง หรือที่เขาเรียกว่ากระบวนการลองผิดลองถูก เขายังชี้ว่าผลของการทดลองอาจออกหัสออกก้อยก็ได้ ไม่มีใครรู้ อันที่จริงคนส่วนใหญ่ก็ไม่รู้ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร จะใช่หรือไม่ใช่ จะผิดพลาดหรือสมหวัง ที่สำคัญอาจไม่ได้มีแค่หัวกับอ้อย แต่เกิดการผ่าเหล่าที่ให้ผลลัพธ์ตรงข้ามกับที่คิดไว้โดยสิ้นเชิงก็มี ประเด็นสำคัญที่ฮาร์ฟอร์ดเน้นคือการทดลองกับความล้มเหลวเป็นของคู่กัน ทำอย่างไรจะล้มให้เป็น ล้มแล้วยังลุกได้ นี่แหล่ะคือเคล็ดลับที่จะทำให้การทดลองที่ดูเหมือนเปะปะลองผิดลองถูก กลายเป็นเส้นทางสู่ความสำเร็จและการค้นพบตัวเอง

ในหนังสือเล่มนี้ฮาร์ฟอร์ดลองอะไรใหม่ๆ หลายอย่าง เขาฉีกแนวไปจาก "นักสืบเศรษฐศาสตร์" ไม่มีการอธิบายเรื่องอุปสงค์ อุปทาน จีดีพี แรงจูงใจ หรือแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์อื่นๆ เพื่อทำความเข้าใจเศรษฐศาสตร์และการทำงานของเศรษฐกิจโดยเฉพาะ แต่เขานำเศรษฐศาสตร์แบบตลาดมาบวกกับทฤษฎีวิวัฒนาการ (ผู้ที่ปรับตัวได้เหมาะสมที่สุดเท่านั้นจึงจะอยู่รอด) มาอธิบายปรากฏการณ์ในชีวิต ในสังคม ในโลกการเงิน ในโครงการพัฒนา ในสมรภูมิรบ หรือแม้กระทั่งในบ่อปลาหางนกยูงกับโลกเสมือนจริงที่นักกราฟฟิกดีไซน์สร้างจำลองโลกธรรมชาติ อะไรดีอะไรใช่จะมีผู้เลียนแบบนำไปเผยแพร่ต่อ อะไรไม่ได้เรื่องก็ถูกโยนทิ้ง (ทำนองเดียวกับสิ่งมีชีวิต ตัวไหนมีลักษณะเหมาะสมก็มีโอกาสแพร่พันธุ์ ตัวไหนไม่เข้าท่าก็ล้มตายสิ้นเผ่าพันธุ์) สำหรับผู้อ่านที่ได้ตัดสินใจซื้อการทดลองเล่มนี้ของฮาร์ฟอร์ดมาเป็นเจ้าของ ก็เท่ากับคุณได้ช่วยคัดเลือกให้ผลงานของเขามีโอกาสเผยแพร่เป็นที่แพร่หลายต่อไป หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะสนุกและได้รับประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้

[con·tin·ue]

บทที่ 1 การปรับตัว (Adapting)

"ภารกิจที่น่าทึ่งของเศรษฐศาสตร์คือพิสูจน์ให้เห็นว่าจริงๆ แล้วมนุษย์เรามีความรู้น้อยนิดเพียงใดในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าสามารถกำหนดล่วงหน้าได้ (The curious task of economics is to demonstrate to men how little they really know about what they imagine they can design.)" - ฟรีดริช ฟอน ฮาแยค (Friedrich August von Hayek: 1899-1992)

1. เป็นไปได้ง่ายๆ เลยที่คุณจะใช้เวลาทั้งชีวิตจมอยู่กับการทำเครื่องปิ้งขนมปัง

2. การแก้ปัญหาในโลกที่ยุ่งยากซับซ้อน

3. นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง

4. ประวัติความล้มเหลวอันยาวนานและยอกย้อน

5. สภาพภูมิประเทศปรับเปลี่ยนตลอดเวลา

6. เราตาบอดยิ่งกว่าที่คิด

7. ความล้มเหลวในการปรับตัว

8. เกินกว่าปัญหาโคคา-โคลา

9. ทำไมการเรียนรู้จากความผิดถึงยากนัก

10. สูตรลับการปรับตัว

บทที่ 2 ความขัดแย้งหรือการเรียนรู้ขององค์กร (Conflict or How Organisations Learn Creating)

1. หนูเห็นพวกเขายิงปู่...

2. องค์กรในอุดมคติ

3. นิมิตของรัมสเฟลด์

4. คนครอบครัวเดียวกัน

5. การทดลองที่ทัลอะฟาร์

6. วิธีการเอาชนะสงครามในอัลอันบาร์โดยผู้กองเทรฟว์

7. งานของผมคือบังคับบัญชากองพลนี้ งานของคุณคือวิจารณ์ผม

8. ถอดบทเรียนผิดจากประวัติศาสตร์

9. แค่สอนให้คอมพิวเตอร์เล่นหมากรุกก็ยากพอแล้ว

10. ความรู้เกี่ยวกับสภาพการณ์ ณ เวลาและสถานที่หนึ่งๆ

11. การบัญชาการภารกิจและความไม่แน่นอนของสงคราม

บทที่ 3 สร้างไอเดียเด็ดหรือการพลิกแพลง (New Ideas That Matter or Variation)

"เมื่อสิ้นความทึ่ง วิทยาศาสตร์ก็สิ้น นักวิทยาศาสตร์จึงพึงต้องหมั่นแสวงหาและหวังว่าจะได้พบความน่าทึ่งอยู่เสมอ (The end of surprise would be the end of science. To this extent, the scientist must constantly seek and hope for surprise.)" - โรเบิร์ต ฟรีเดล (Robert D. Friedel: 1950-)

1. การทดลองที่น่าสนใจที่สุดโครงการหนึ่ง

2. สลากกินแบ่ง หงส์ดำเชิงบวก และความสำคัญของการพลิกแพลง

3. โครงการลับกับไอ้ตัวประหลาด

4. ภาระของความรู้

5. ปัญหากับสิทธิบัตร

6. เราดีใจที่คุณไม่ทำตามคำแนะนำของเรา

7. แม้จะแปลว่ามีความไม่แน่นอนหรือโอกาสล้มเหลว

8. สำหรับบุคคลหรือคณะบุคคลที่ค้นพบเส้นลองจิจูด

9. ผู้แสวงหาทางออกกับผู้แก้ปัญหา

10. ไม่มีอย่างอื่นให้ทำที่โมฮาวี

บทที่ 4 เสาะหาวิธีช่วยคนจนหรือการคัดเลือก (Finding What Works for the Poor or Selection)

"ในฐานะคนที่เชื่อว่าความรู้มาจากประสบการณ์จริง ผมพร้อมจะเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเองและผู้อื่น" - โมฮัมหมัด ยูนูส (Muhammad Yunus: 1940-)

1. ถ้าลองครั้งแรกไม่สำเร็จ ให้ลองอีกครั้ง

2. ทันทีที่ฝรั่งเดินถือกล้องเข้ามา เด็กๆ ก็กระดี๊กระด๊า

3. แล้วคอยดูว่าเราทั้งสองจะมีงานศพกี่งาน

4. คุณต้องหยุดการทดลองเดี๋ยวนี้

5. ถ้าเราไม่รู้ว่าทำแล้วดีไหม เราก็ไม่ดีไปกว่าหมอยุคกลางกับทากของเขา

6. ลูกเราถูกลักพาตัวไป เฮลิคอปเตอร์บินว่อนอยู่เหนือหัว แต่เราก็ได้ฉลองคริสต์มาสอย่างดีมาก

7. เราไม่ควรพยายามออกแบบโลกให้ดีกว่านี้ เราน่าจะปรับปรุงวงจรตอบรับและส่งกลับข้อมูลให้ดีขึ้นมากกว่า

8. การสำรวจห้วงอวกาศของผลิตภัณฑ์

9. สูตรจัดระเบียบความอลหม่านและสร้างความเจริญ ท่ามกลางความล้าหลัง

บทที่ 5 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือการเปลี่ยนกฎความสำเร็จ (Climate Change or Changing the Rules for Success)

1. ปรากฏการณ์เรือนกระจก ปี 1859

2. ไม่มีอะไรง่ายกว่านี้อีกแล้ว!

3. หนึ่งวันในชีวิตของนักสิ่งแวดล้อมเกิดใหม่

4. ถ้าผมถามพ่อว่าคาร์บอนฟุตพริ้นต์ของแกะเป็นเท่าไหร่ พ่อจะมองผมเหมือนผมบ้าไปแล้ว

5. คลาวด์คำนวณคาร์บอน

6. ผลพวงที่ไม่คาดคิดของกฎเมอร์ตัน

7. เจ้าบูลด๊อกเศรษฐกิจ

8. ปรับสนามแข่งให้ลาดเอียง

บทที่ 6 ป้องกันวิกฤตการณ์ทางการเงินหรือการแยกคู่ (Preventing Financial Meltdowns or Decoupling)

1. เมื่อความล้มเหลวนำไปสู่ความเสียหายใหญ่หลวง

2. กิจการธนาคารซับซ้อนกว่าโรงงานนิวเคลียร์ไหนๆ ที่ผมเคยศึกษามา

3. ทำไมระบบความปลอดภัยถึงกลายเป็นงูพิษที่แว้งกัด

4. ผู้ปฏิบัติงานจับต้นชนปลายไม่ถูกเลย

5. เราไม่มีเวลา

6. โดมิโนกับธนาคารผีดิบ

7. การแยกคู่

8. ความพลั้งเผลอ ความผิดพลาด และการละเมิด

9. ผมไม่ได้อะไรนะที่บอกความจริงกับพวกเขา

10. ทดลองแล้วพลาดได้แต่ไม่ล้ม

11. ดีพวอเตอร์ ฮอไรซอน

บทที่ 7 องค์กรที่ปรับตัวเก่ง (The Adaptive Organisation)

1. ปรับตัวไปตามสถานการณ์

2. ผมไม่อยากให้คนที่สำนักงานใหญ่เข้ามายุ่ง

3. ที่นี่ถ้าคุณสั่งใครทำอะไร เขาจะไม่ทำงานให้คุณอีกเลย

4. กลยุทธ์ของบริษัทกูเกิล: กูเกิลไม่มีกลยุทธ์บริษัท

5. ความสำเร็จคือจำนวนการทดลองที่สามารถอัดเข้าไปได้ในเวลา 24 ชั่วโมง

6. เมื่อบริษัทกลายเป็นไดโนเสาร์

7. สร้างให้พัง

บทที่ 8 คุณกับการปรับตัว (Adapting and You)

1. มันเกิดขึ้นอย่างไร?

2. ท้าทายสถานภาพเดิมที่คุณเป็นคนสร้างขึ้นมากับมือ

3. เธอก็รู้ว่าพวกเขาพูดถูก

4. สร้างพื้นที่ปลอดภัยของคุณเองเพื่อทดลอง

คำขอบคุณ (Acknowledgements)

"ทำแล้วล้มเหลว ไม่เป็นไร ลองใหม่ ล้มใหม่ แล้วล้มให้ดีกว่าเก่า (Ever tried. Ever failed. No matter. Try again. Fail again. Fail better)" - แซมมูเอล เบ็คเคตต์ (Samuel Barclay Beckett: 1906-1989)

บรรณานุกรม (Notes)

เกี่ยวกับผู้เขียน

ทิม ฮาร์ฟอร์ด (Tim Harford: 1973-) เขียนคอลัมน์ "The Undercover Economist" ในหนังสือพิมพ์ Financial Times ส่วนคอลัมน์ "Dear Economist" ของเขาตีพิมพ์ในนิตยสาร Men's Health ผลงานเขียนของเขายังปรากฏในนิตยสาร Esquire, Forbes, New York Magazine, Wired และหนังสือพิมพ์ Washington Post กับ New York Times ด้วย ก่อนหน้านี้เขาเขียนหนังสือหลายเล่ม รวมทั้ง The Logic of Life (เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต) และ The Undercover Economist (นักสืบเศรษฐศาสตร์) ที่มียอดขายเกินหนึ่งล้านเล่ม ฮาร์ฟอร์ดเป็นอาจารย์รับเชิญที่วิทยาลัย Nuffield College มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด กับ Cass Business School ในลอนดอน เขาได้รับรางวัล Bastiat Prize ด้านข่าวเศรษฐกิจประจำปี 2006 ฮาร์ฟอร์ดเป็นผู้ดำเนินรายการวิทยุที่ได้รับความนิยมสูงทาง BBC Radio 4 ชื่อรายการ More or Less รายการนี้ได้รับรางวัลข่าวดีเด่นประจำปี 2010 จากสมาคม Royal Statistical Society เขาอยู่ที่ลอนดอนกับภรรยาและลูกสาวสองคน

เกี่ยวกับผู้แปล

อรนุช อนุศักดิ์เสถียร เป็นนักแปลและล่ามอิสระ หนังสือ "Adapt หรือปรับตัว" เล่มนี้เป็นผลงานแปลเล่มที่ 7 ก่อนหน้านี้เคยแปลหนังสือแนวเศรษฐศาสตร์และธุรกิจให้กับสำนักพิมพ์มติชนมาแล้ว รวมทั้งผลงานของ Tim Harford ด้วยดังนี้ "นักสืบเศรษฐศาสตร์ (The Undercover Economist, 2005), เศรษฐศาสตร์ซูชิ, จดหมายถึงนักสืบเศรษฐศาสตร์ (Dear Undercover Economist, 2009), ความรุ่งเรืองของเงินตรา, คริสปี้ครีม: 12 สูตรลับความสำเร็จอันหอมหวาน และสวมวิญญาณนักเศรษฐศาสตร์" ก่อนจะหันมาจับงานแปล อรนุชเคยเป็นผู้ผลิตรายการอาวุโสของสถานีวิทยุบีบีซีภาคภาษาไทยที่กรุงลอนดอน และเคยทำข่าวธุรกิจให้หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น

 

"Reading make a full man, conference a ready man, and writing an exact man. การอ่านทำให้เป็นคนที่สมบูรณ์ การเสวนาทำให้เป็นคนที่พร้อม และการเขียนทำให้เป็นคนที่เที่ยงตรง" - Francis Bacon (1561-1626)

Reading & Working: ยิ่งอ่านก็ยิ่งรู้! ยิ่งทำงานก็ยิ่งเก่ง! หนังสือแปลคัดสรรบนชั้นหนังสือส่วนตัว Beautiful Quietness: เงียบแต่ไม่เหงา! ดินแดนแห่งการอ่านและพื้นที่ทางความคิด โลกของนักอ่านและพรมแดนแห่งความรู้ การอ่านสะท้อนความคิด ความคิดสะท้อนตัวตน ตัวตนสะท้อนจิตวิญญาณ Changing Lives, One Book at a Time ห้องสมุดมีชีวิต ...ชีวิตดีๆ ทีละเล่ม อ่านเถิดชาวไทย! การอ่านคือรากฐานที่สำคัญ [อากาศ อาหาร การอ่าน] If you don't like to read, you haven't found the right book. Readers of the World. pruetsara.wixsite.com

 
bottom of page