top of page

วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์แห่งการค้นพบ (The Discoveries: Great Breakthroughs in 20th Century Science)


หนังสือชุด World Science Series

วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์แห่งการค้นพบ

แปลจาก The Discoveries: Great Breakthroughs in 20th Century Science (2006)

เขียนโดย Alan Paige Lightman แปลโดย ดร.บุญญานาถ นาถวงษ์ ดร.ปิยบุตร บุรีคำ และ ดร.ยุทธนา ตันติรุ่งโรจน์ชัย สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2554 จำนวน 632 หน้า ปกอ่อน ISBN: 9789740208549

เพราะค้นจึงพบ เพราะหาจึงเจอ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ครั้งสำคัญยิ่งแห่งศตวรรษที่ 20 พร้อมบทความต้นฉบับที่ปฏิวัติวิธีมองโลกของมนุษย์ไปอย่างสิ้นเชิง

องค์ความรู้วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์แห่งศตวรรษที่ 20 ที่กำลังเปลี่ยนแปลงโลก The Discoveries หรือวิทยาศาสตร์มหัศจรรย์แห่งการค้นพบ รวมผลงานการค้นพบอันยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 20 จำนวน 25 ชิ้น ตั้งแต่ควอนตัมฟิสิกส์ไปจนถึงดาราศาสตร์ การแพทย์ ยีน และเคมี เผยให้เห็นภาพความก้าวหน้าในการค้นคว้าผ่านต้นฉบับรายงานผลการวิจัยที่เขียนโดยนักวิทยาศาสตร์สำคัญแห่งยุคซึ่งล้วนปฏิวัติแวดวงวิทยาศาสตร์และวิธีมองโลกของเราไปอย่างสิ้นเชิง รวบรวมโดยอลัน ไลท์แมน นักฟิสิกส์และนักเขียนชื่อดัง เจ้าของผลงานขายดี 'ความฝันของไอน์สไตน์'

ความเห็นชื่นชมต่องานวิทยาศาสตร์แห่งการค้นพบของอลัน ไลท์แมน

"ผู้อ่านจะได้สัมผัสถึงความรู้สึกนึกคิดของเหล่านักวิจัยระดับสุดยอด" - Science News (นิตยสารไซน์นิวส์)

"ไลท์แมนมีความหลงใหลแบบกวีในอุปลักษณ์อันเรียบง่ายที่เหมาะสำหรับบทความเปี่ยมสาระและช่างสังเกต" - Time Out New York (นิตยสารไทม์เอาต์นิวยอร์ก)

"อภิปรายอย่างพิถีพิถันและแจ่มชัดสละสลวย ทัวร์ชั้นยอดสู่พัฒนาการของมนุษย์และวิทยาการในการเปิดเผยความลับของธรรมชาติที่อยู่ห่างไกลออกไปเนื่องเพราะขีดจำกัดของสัมผัสรับรู้ของเราเอง" - Santa Barbara News-Press (หนังสือพิมพ์ข่าวสารซานตาบาร์บาร่า)

"ไลท์แมนอธิบายผลงานทางวิทยาศาสตร์ชั้นยอดซึ่งแสดงถึงการค้นพบแต่ละชิ้นที่ได้รับการตีพิมพ์ออกมาอันยากจะอ่านเข้าใจได้อย่างกระจ่างแจ้ง เป็นหนังสือที่เข้าใจได้ง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ" - Library Journal (วารสารไลบรารี เจอร์นัล)

"วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์แห่งการค้นพบเป็นหนังสือที่นำเราไปสู่จุดสูงสุดอันเป็นแก่นหลักของวิทยาการศตวรรษที่ 20 ได้อย่างน่าสนใจ แนวคิดอันสุดยอด สำเร็จได้อย่างไม่มีที่ติ" - แอนเดรีย แบร์เรตต์ (Andrea Barrett) ผู้เขียน Voyage of the Narwhal (1998)

"น่าสนใจ งดงาม และเข้าใจได้ง่าย [จะ]ทำให้ผู้อ่านประหลาดใจและกระตุ้นความคิด" - Science Books and Films (นิตยสารไซน์บุ๊คส์แอนฟิล์มส์)

"เป็นหนังสือที่ชัดเจน ขาดไม่ได้ และปลุกเร้าความรู้สึกในการเผยให้เข้าใจถึงความสลับซับซ้อนอันเป็นระบบระเบียบของธรรมชาติและพลังอำนาจในการหยั่งรู้ของวิทยาศาสตร์" - ริชาร์ด โรดส์ (Richard Rhodes) ผู้เขียน The Making of the Atomic Bomb (1986)

"ไลท์แมนใช้ความสามารถในการบอกเล่าเรื่องราวอันเอกอุเมื่อเข้าถึงชีวิตส่วนตัวของเหล่านักวิทยาศาสตร์ซึ่งวิ่งคู่ขนานไปกับการค้นพบของพวกเขาเหล่านั้น" - The Globe and Mail (หนังสือพิมพ์โกลบแอนเมล โตรอนโต)

คำนำสำนักพิมพ์

พลังในการสร้างสรรค์และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ครั้งสำคัญยิ่งเกิดขึ้นในวิทยาศาสตร์ทุกสาขาในศตวรรษที่ผ่านมา ตั้งแต่ทฤษฎีสัมพัทธภาพไปจนถึงแบบจำลองควอนตัมของอะตอมและแผนที่โครงสร้างของดีเอ็นเอ การค้นพบเหล่านี้เปลี่ยนวิธีการมองโลกและตำแหน่งแห่งที่ของเราในโลกไปเสียสิ้น ในหนังสือวิทยาศาสตร์มหัศจรรย์แห่งการค้นพบ (The Discoveries) เล่มนี้ ผู้เขียนคืออลัน ไลท์แมน ได้รวบรวมบทความงานวิจัย 25 ชิ้น ซึ่งล้วนเป็นการค้นพบที่มีความสำคัญในแวดวงวิทยาศาสตร์

บทความเหล่านี้เรียงลำดับตามเวลาที่ตีพิมพ์ อลัน ไลท์แมนขึ้นต้นแต่ละบทด้วยประวัติการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์แต่ละคนและได้ให้คำอธิบายขยายความที่ช่วยแนะนำผู้อ่านก่อนที่จะเข้าสู่บทความ พร้อมความสำคัญและผลกระทบของผลงานเหล่านั้นต่อโลก เขาสำรวจแบบแผนร่วมของวิธีคิดและการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ว่ามีลีลาการเขียนและวิธีคิดที่เหมือนหรือแตกต่างกันไปของนักวิทยาศาสตร์แต่ละคนอย่างไร บางคนอาจจะค้นพบโดยบังเอิญ ในขณะที่การค้นพบของบางคนเป็นความจงใจ และบางคนก็ไม่รู้ตัวเลยว่าสิ่งที่ตนค้นพบนั้นสำคัญขนาดไหน จากนั้นผู้อ่านจะได้สัมผัสบทความต้นฉบับที่เขียนโดยนักวิทยาศาสตร์เหล่านั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นีลสื บอห์ร แมกซ์ แพลงค์ เอ็ดมัน ฮับเบิ้ล เออร์เนสต์ รัทเธอร์ฟอร์ด ฯลฯ นอกจากผู้อ่านจะได้รับความรู้อันเป็นผลจากการค้นคว้าอันยิ่งใหญ่ต่างๆ แล้ว ผู้อ่านยังจะได้รู้จักตัวตนและบุคลิกของนักวิทยาศาสตร์ผู้มุ่งมั่นทุ่มเทผ่านงานเขียนปฏิวัติโลกในหนังสือวิทยาศาสตร์มหัศจรรย์แห่งการค้นพบเล่มนี้

สำนักพิมพ์มติชนหวังว่าเรื่องราวอันน่ามหัศจรรย์ของการค้นพบปฏิวัติโลกเหล่านี้จะจุดประกายผู้อ่านให้เกิดแรงบันดาลใจในการออกไปค้นเพื่อพบความลี้ลับของชีวิตและจักรวาลอันกว้างใหญ่นี้

คำนำผู้แปล

หนังสือวิทยาศาสตร์มหัศจรรย์แห่งการค้นพบหรือ The Discoveries ซึ่งเขียนโดยอลัน ไลท์แมน นี้มีแนวการนำเสนอต่างไปจากหนังสืออ่านเล่นทางวิทยาศาสตร์ที่ท่านเคยอ่าน ไลท์แทนพยายามคัดสรรบทความต้นฉบับที่สำคัญยิ่งต่อวงการวิทยาศาสตร์ในสาขาฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ตลอดช่วงศตวรรษที่ 20 มาอธิบายแก่ท่าน โดยนำเสนอทั้งในรูปบทนำเรื่องและในรูปของบทความต้นฉบับ แม้เรื่องราวจะถูกจัดลำดับตามเวลา แต่ผู้อ่านสามารถเลือกอ่านเรื่องที่สนใจได้ตามความชอบส่วนตัว บทนำเรื่องจะพาท่านไปเข้าใจถึงประวัตินักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบ แรงบันดาลใจให้ค้นพบ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบการค้นพบดังกล่าว รวมถึงผลกระทบของการค้นพบเหล่านั้น ในส่วนนี้ไลท์แทนได้เรียงร้อยเรื่องราวอย่างน่าสนใจ ชวนติดตามยิ่ง

ดังที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในบทนำ ในส่วนเนื้อหาของบทความต้นฉบับอาจเป็นที่เข้าใจได้อย่างถ่องแท้แค่ในกลุ่มนักวิจัยเฉพาะสาขานั้น แต่เราก็อยากให้ผู้อ่านได้ลองอ่านอย่างตั้งใจ แม้ไม่อาจเข้าใจได้ทั้งหมด แต่ท่านผู้อ่านก็จะรู้สึกได้ถึงพลังแห่งสติปัญญาและความต้องการเข้าใจธรรมชาติของนักวิทยาศาสตร์เหล่านั้น นี่คงเป็นโอกาสไม่บ่อยนักที่ท่านจะได้ร่วมสัมผัสประสบการณ์จริงอันน่าตื่นเต้นจากคำบอกเล่าของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่โดยตรง พวกเราหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้อ่าน โดยเฉพาะเยาวชนรุ่นใหม่ให้มีไฟแห่งความอยากรู้อยากเข้าใจธรรมชาติ เช่นนักวิทยาศาสตร์ที่ถูกกล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้ สักวันหนึ่งข้างหน้าเขาอาจค้นพบความก้าวหน้าใหม่ๆ ที่สำคัญต่อมวลมนุษย์ เมื่อวันนั้นมาถึง เราคงได้เห็นชื่อคนไทยปรากฎขึ้นอย่างน่าภาคภูมิใจในหนังสือวิทยาศาสตร์มหัศจรรย์แห่งการค้นพบ (The Discoveries) ฉบับปรับปรุงเพื่อฉลองความก้าวหน้าสำคัญในศตวรรษที่ 21! คณะผู้แปลขอขอบคุณทางสำนักพิมพ์มติชนที่สรรหาหนังสือดีมีคุณค่ามานำเสนอสู่สังคมไทย เพื่อสร้างสรรค์ให้สังคมไทยเป็นสังคมอุดมปัญญาอย่างแท้จริง

[con·tin·ue]

บทนำ (Introduction)

ว่าด้วยตัวเลข (A Note on Numbers)

บทที่ 1 ควอนตัม (The Quantum)

ว่าด้วยทฤษฎีกฎการกระจายพลังงานของสเปกตรัมปกติ (On the Theory of the Energy Distribution Law of the Normal Spectrum, 1900) โดยแมกซ์ แพลงค์ (Max Karl Ernst Ludwig Planck: 1858-1947)

บทที่ 2 ฮอร์โมน (Hormones)

กลไกการหลั่งสารจากตับอ่อน (The Machanism of Pancreatic Secretion, 1902) โดยวิลเลียม เบลิส (William Maddock Bayliss: 1860-1924) และเออร์เนสต์ สตาร์ลิง (Ernest Henry Starling: 1866-1927)

บทที่ 3 ความเป็นอนุภาคของแสง (The Particle Nature of Light)

ว่าด้วยมุมมองเชิงวิทยาการศึกษาสำนึกของการเกิดและการแปลงสภาพของแสง (On a Heuristic Point of View Concerning the Production and Transformation of Light, 1905) โดยอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein: 1879-1955)

บทที่ 4 ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Special Relativity)

ว่าด้วยพลศาสตร์ไฟฟ้าของวัตถุที่เคลื่อนที่ (On the Electrodynamics of Moving Bodies, 1905) โดยอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein: 1879-1955)

บทที่ 5 นิวเคลียสของอะตอม (The Nucleus of the Atom)

การกระเจิงของอนุภาคแอลฟาและบีตาโดยสสารและว่าด้วยโครงสร้างอะตอม (The Scattering of Alpha and Beta Particles by Matter and the Structure of the Atom, 1911) โดยเออร์เนสต์ รัทเธอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford: 1871-1937)

บทที่ 6 ขนาดของเอกภพ (The Size of the Cosmos)

คาบของดาวแปรแสง 25 ดวงในเมฆแมกเจลแลนเล็ก (Periods of 25 Variable Stars in the Small Magellanic Cloud, 1912) โดยเฮนเรียตต้า เลวิตต์ (Henrietta Swan Leavitt: 1868-1921)

บทที่ 7 การจัดเรียงอะตอมในสถานะของแข็ง (The Arrangement of Atoms in Solid Matter)

ปรากฏการณ์การแทรกสอดของรังสีเรินต์เกน (Interference Phenomena with Röntgen Rays, 1912) โดยวอลเตอร์ ฟริดดิช (Walter Friedrich: 1883-1968) พอล คนิปปิง (Paul Knipping: 1883-1935) และแมกซ์ เลาว์ (Max Theodor Felix von Laue: 1879-1960)

บทที่ 8 อะตอมควอนตัม (The Quantum Atom)

องค์ประกอบของอะตอมและโมเลกุล (On the Constitution of Atoms and Molecules, 1913) โดยนีลส์ บอห์ร (Niels Henrik David Bohr: 1885-1962)

บทที่ 9 การสื่อสารระหว่างประสาท (The Means of Communication Between Nerves)

การทำงานของเส้นประสาทหัวใจจากการส่งสัญญาณด้วยของเหลว (On the Humoral Transmission of the Action of the Cardiac Nerve, 1921) โดยออตโต โลวี (Otto Loewi: 1873-1961)

บทที่ 10 หลักความไม่แน่นอน (The Uncertainty Principle)

ว่าด้วยองค์ประกอบเชิงกายภาพของจลศาสตร์และกลศาสตร์ควอนตัม (On the Physical Content of Quantum Kinematics and Mechanics, 1927) โดยเวอร์เนอร์ ไฮเซนเบิร์ก (Werner Karl Heisenberg: 1901-1976)

บทที่ 11 พันธะเคมี (The Chemical Bond)

พันธะเคมีแบบใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน (The Shared-Electron Chemical Bond, 1928) โดยไลนัส พอลลิ่ง (Linus Carl Pauling: 1901-1994)

บทที่ 12 การขยายตัวของเอกภพ (The Expansion of the Universe)

ความสัมพันธ์ระหว่างระยะห่างกับความเร็วแนวรัศมีของเนบิวล่าภายนอกกาแล็กซี่ (A Relation Between Distancce and Radial Velocity among Extra-Galactic Nebulae, 1929) โดยเอ็ดวิน ฮับเบิ้ล (Edwin Powell Hubble: 1889-1953)

บทที่ 13 ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)

การออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของเพนนิซิลเลียม พร้อมด้วยการอ้างอิงเป็นพิเศษถึงการใช้ในการคัดแยก บี. อินฟลูเอนเซ (On the Antibacterial Action of Cultures of a Penicillium, with Special Reference to Their Use in the Isolation of B. Influenzae, 1929) โดยอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง (Alexander Fleming: 1881-1955)

บทที่ 14 การผลิตพลังงานในสิ่งมีชีวิต (The Means of Production of Energy in Living Organisms)

บทบาทของกรดซิตริกในการเผาผลาญระยะกลางในเนื้อเยื่อสัตว์ (The Role of Citric Acid in Intermediate Metabolism in Animal Tissues, 1937) โดยฮันส์ เครบส์ (Hans Adolf Krebs: 1900-1981) และวิลเลี่ยม จอห์นสัน (William Arthur Johnson: 1816-1880)

บทที่ 15 นิวเคลียร์ฟิชชั่น (Nuclear Fission)

ว่าด้วยการมีอยู่ของโลหะอัลคาไลน์เอิร์ธจากการระดมยิงยูเรเนียมด้วยนิวตรอน (Concerning the Existence of Alkaline Earth Metals Resulting from Neutron Irradiation of Uranium, 1939) โดยออตโต ฮาห์น (Otto Hahn: 1879-1968) และพริตซ์ สตราสมานน์ (Friedrich Wilhelm "Fritz" Strassmann: 1902-1980)

การแตกตัวของยูเรเนียมโดยนิวตรอน: ปฏิกิริยานิวเคลียร์ชนิดใหม่ (Disintegration of Uranium by Neutrons: A New Type of Nuclear Reaction, 1939) โดยลิซ ไมท์เนอร์ (Lise Meitner: 1878-1968) และออตโต ฟริช (Otto Robert Frisch: 1904-1979)

บทที่ 16 การเคลื่อนที่ของยีน (The Movability of Genes)

โลไซที่เสถียรในข้าวโพด (Mutable Loci in Maize, 1948) โดยบาร์บารา แมคคลินทอค (Barbara McClintock: 1902-1992)

บทที่ 17 โครงสร้างดีเอ็นเอ (The Structure of DNA)

โครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก (Molecular Structure of Nucleic, 1953) โดยเจมส์ วัตสัน (James Dewey Watson: 1928-) และฟรานซิส คริก (Francis Harry Compton Crick: 1916-2004)

การจัดเรียงตัวระดับโมเลกุลของโซเดียมไธโมนิวคลีเอต (Molecular Configurration in Sodium Thymonucleate, 1953) โดยโรซาลินด์ แฟรงคลิน (Rosalind Elsie Franklin: 1920-1958) และเรย์มอนด์ กอสลิง (Raymond George Gosling: 1926-2015)

บทที่ 18 โครงสร้างโปรตีน (The Structure of Proteins)

โครงสร้างฮีโมโกลบิน: การสังเคราะห์ฟูเรียร์สามมิติที่กำลังขยายขนาดความละเอียด 5.5Å จากการวิเคราะห์โดยรังสีเอ็กซ์ (Structure of Haemoglobin: A Three-Dimensional Fourier Synthesis at 5.5Å Resolution Obtained by X-Ray Analysis, 1960) โดยแมกซ์ เพรุตซ์ (Max Ferdinand Perutz: 1914-2002) ไมเคิล รอสแมนน์ (Michael G. Rossmann: 1930-) แอน คัลลิส (Ann F. Cullis) ฮิลลารี มัวร์เฮด (Hilary Muirhead) และจอร์จ วิลล์ (George Will)

บทที่ 19 คลื่นวิทยุจากบิ๊กแบง (Radio Waves from the Big Bang)

การตรวจจับอุณหภูมิเสาอากาศส่วนเกินที่ 4,080 ล้านรอบต่อวินาที (A Measurement of Excess Antenna Temperature at 4,080 Million Cycles per Second, 1965) โดยอาร์โน เพนเซียส (Arno Allan Penzias: 1933-) และโรเบิร์ต วิลสัน (Robert Woodrow Wilson: 1936-)

รังสีพื้นหลังของเอกภพ (Cosmic Black-Body Radiation, 1965) โดยโรเบิร์ต ดิก (Robert Henry Dicke: 1916-1997) ฟิลลิป พีเบิลส์ (Phillip James Edwin Peebles: 1935-) ปีเตอร์ โรล (Peter Roll) และเดวิด ที วิลกินสัน (David Todd Wilkinson: 1935-2002)

บทที่ 20 ทฤษฎีเอกภาพแห่งแรง (A Unified Theory of Forces)

แบบจำลองของเลปตอน (A Model of Leptons, 1967) โดยสตีเว่น ไวน์เบิร์ก (Steve Weinberg: 1933-)

บทที่ 21 ควาร์ก: เนื้อแก่นอันเล็กที่สุดของสสาร (Quarks: A Tiniest Essence of Matter)

พฤติกรรมที่ตรวจวัดได้ของการกระเจิงอิเล็กตรอนกับโปรตอนแบบไม่ยืดหยุ่นอย่างสูง (Observed Behavior of Highly Inelastic Electron-Proton Scattering, 1969) โดยเอ็ม ไบรเดนบาร์ค (Martin Breidenbach: 1943-) เจอโรม ฟรีดแมน (Jerome Isaac Friedman: 1930-) เฮนรี่ เคนดัลล์ (Henry Way Kendall: 1926-1999) อี. ดี. บลูม (E. D. Bloom) ดี. เอช. โคเวิร์ด (D. H. Coward) เอช เดอสแตบเลอร์ (H. deStaebler) เจ. ดรีส์ (J. Drees) แอล. ดับเบิลยู. โม (L. W. Mo) และริชาร์ด เทย์เลอร์ (Richard Edward Taylor: 1929-)

บทที่ 22 การสร้างชีวิตที่เปลี่ยนรูปแบบ (The Creation of Altered Forms of Life)

วิธีการทางชีวเคมีสำหรับการสอดแทรกข้อมูลทางพันธุกรรมเข้าสู่ดีเอ็นเอของไซเมียนไวรัส 40: โมเลกุลดีเอ็นเอรูปวงกลมของไซเมียนไวรัส 40 (Biochemical Method for Inserting New Genetic Information into DNA of Simian Virus 40: Circular SV40 DNA Molecules Containing Lambda Phage Genes and the Galactose Operon of Escherichia coli, 1972) โดยเดวิด แจ็กสัน (David A. Jackson) โรเบิร์ต ไซมอนส์ (Robert H. Symons) และพอล เบิร์ก (Paul Berg: 1926-)

ปัจฉิมบท (Epilogue)

ประวัติผู้เขียน

ดร.อลัน ไลท์แมน (Alan Paige Lightman) ชาวเมืองเมมฟิส (Memphis) มลรัฐเทนเนสซี (Tennessee) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton University) และได้รับปริญญาเอกด้านฟิสิกส์ทฤษฎีจากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Technology: CalTech) เป็นนักดาราศาสตร์และฟิสิกส์เป็นเวลากว่าสองทศวรรษ เขายังเป็นสอนวิชาดังกล่าวทั้งที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) และสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology: MIT) นวนิยายของเขารวมถึง Einstein's Dream (1992, ความฝันของไอน์สไตน์) ซึ่งเป็นหนังสือขายดีระดับนานาชาติ The Diagnosis (2000) ซึ่งเข้ารอบสุดท้ายของรางวัลหนังสือแห่งชาติ และ Reunion (2003) งานเขียนของเขาปรากฎในนิตยสารและวารสาร อาทิ The New York Review of Books (นิตยสารวิจารณ์หนังสือนิวยอร์กรีวิว) The New York Times (หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์) Nature (วารสารเนเจอร์) The Atlantic Monthly (วารสารแอตแลนติกรายเดือน) และ The New Yorker (นิตยสารเดอะนิวยอร์กเกอร์) และอื่นๆ เขาอาศัยอยู่ในมลรัฐแมสซาชูเซตส์และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์

ประวัติผู้แปล

ดร.ปิยบุตร บุรีคำ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้านฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงจาก University of Wisconsin at Madison ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำงานวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง

ดร.ยุทธนา ตันติรุ่งโรจน์ชัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้านเคมีทฤษฎีจาก University of Cambridge ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำงานวิจัยด้านเคมีทฤษฎีและเคมีคำนวณ

ดร.บุญญานาถ นาถวงษ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชจาก University of East Anglia ประเทศอังกฤษ ทำงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชและความปลอดภัยทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายกฎระเบียบ บริษัท มอนซานโต้ไทยแลนด์ จำกัด (Monsanto บริษัทสินค้าเกษตรยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาที่กล่าวกันว่าเป็นหนึ่งในบรรษัทข้ามชาติที่ชั่วร้ายแห่งหนึ่งที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้)

 

"Reading make a full man, conference a ready man, and writing an exact man. การอ่านทำให้เป็นคนที่สมบูรณ์ การเสวนาทำให้เป็นคนที่พร้อม และการเขียนทำให้เป็นคนที่เที่ยงตรง" - Francis Bacon (1561-1626)

Reading & Working: ยิ่งอ่านก็ยิ่งรู้! ยิ่งทำงานก็ยิ่งเก่ง! หนังสือแปลคัดสรรบนชั้นหนังสือส่วนตัว Beautiful Quietness: เงียบแต่ไม่เหงา! ดินแดนแห่งการอ่านและพื้นที่ทางความคิด โลกของนักอ่านและพรมแดนแห่งความรู้ การอ่านสะท้อนความคิด ความคิดสะท้อนตัวตน ตัวตนสะท้อนจิตวิญญาณ Changing Lives, One Book at a Time ห้องสมุดมีชีวิต ...ชีวิตดีๆ ทีละเล่ม อ่านเถิดชาวไทย! การอ่านคือรากฐานที่สำคัญ [อากาศ อาหาร การอ่าน] If you don't like to read, you haven't found the right book. Readers of the World. pruetsara.wixsite.com

 
bottom of page