นาโนฟิวเจอร์: นาโนเทคโนโลยีกับโลกอนาคต (Nanofuture: What's Next for Nanotechnology)
นาโนฟิวเจอร์: นาโนเทคโนโลยีกับโลกอนาคต
แปลจาก Nanofuture: What's Next for Nanotechnology (2005)
เขียนโดย John Storrs Hall แปลโดยอรวรรณ นาวายุทธ และสัญญา นาวายุทธ บรรณาธิการโดย ดร.วุทธิพันธุ์ ปรัชญพฤกษ์ โครงการจัดพิมพ์คบไฟ พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2550 จำนวน 472 หน้า ปกอ่อน ISBN: 9789747291872
คำนำ
มีคำกล่าวยกย่องผลกระทบของนาโนเทคโนโลยี (nanotechnology) ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 มิใช่ครั้งที่ 3, 4 หรือ 5 เพราะแม้มีการทำนายทำนองเดียวกันกับเทคโนโลยีบางอย่าง เช่น คอมพิวเตอร์หรือวิทยาการหุ่นยนต์ ทว่ายังไม่มีสิ่งใดที่อาจทับรัศมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 ได้เลย การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกได้เปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตของคนเรา ในระดับปัจเจกส่งผลให้มนุษย์มีอายุขัยโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า และในระดับสากลยังผลให้เกิดโลกาภิวัตน์ในเชิงอารยธรรมนาโนเทคโนโลยีจะทำได้ถึงขนาดนั้นเชียวหรือ?
นาโนเทคโนโลยีมีผลงานการประดิษฐ์คิดค้นที่โดดเด่นน่าทึ่งออกมาบ้างแล้ว ทั้งยังมีอีกมากมายที่อยู่ในขั้นทดลองหรืออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของนักทฤษฎี เราจะทราบได้อย่างไรว่าประดิษฐกรรมใหม่ๆ เหล่านั้น ไม่ว่าจะเฉียบแหลมเพียงใดก็ตาม จะเปลี่ยนแปลงโลกนอกเหนือจากแวดวงเทคโนโลยีอันเป็นกลุ่มน้อยนิดได้อย่างไร? อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วคุณจะพบคำตอบ การทำความเข้าใจเทคโนโลยีใหม่นี้ได้อย่างแท้จริง อันเป็นความเข้าใจที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการประเมินผลที่จะตามมานั้น นับเป็นการผจญภัยทางปัญญาอย่างหนึ่ง ผมไม่คิดว่าจะมีผู้ใดเหมาะสำหรับเป็นมัคคุเทศก์นำทางยิ่งไปกว่า ดร.จอห์น สตอรร์ส ฮอลล์ อีกแล้ว
ตั้งแต่ชื่อนาโนเทคโนโลยียังไม่แพร่หลายและรู้จักกันไม่ถึง 1 ใน 10 ของปัจจุบันนั้น เขาได้จัดตั้งกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านทางอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรกโดยเชื่อมโยงไปทั่วโลก รวมทั้งเป็นคนนำอภิปรายเรื่องนี้มานานประมาณ 10 ปีแล้ว เขาวิจัยและพัฒนานาโนเทคโนโลยีนี้มาตั้งแต่ช่วงแรกเริ่ม และมีส่วนในการประดิษฐ์คิดค้นและการค้นพบต่างๆ จำนวนมาก อย่างไรก็ดี สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่าเกียรติคุณด้านวิทยาศาสตร์ของเขาก็คือ อรรถาธิบายที่เปี่ยมไปด้วยความรู้ความเข้าใจในบริบทอันกว้างขวางของเขา หนังสือเล่มนี้จะทำให้ได้เรียนรู้ไม่เพียงแต่เรื่องราวของนาโนเทคโนโลยีเท่านั้น หากยังเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีทั้งหมด ซึ่งมิใช่เพียงแค่เรื่องอุปกรณ์กลไกต่างๆ ที่รวบรวมเข้าไว้ด้วยกันเท่านั้น หากมีสถานะเป็นโครงสร้างส่วนหนึ่งของโลกเลยทีเดียว ไม่ใช่เพียงแค่พลังเครื่องจักรไอน้ำที่ขับเคลื่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม หากอยู่ที่ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ทำได้กับสิ่งที่จำเป็นต้องกระทำด้วย ในยุคที่จักรวรรดิโรมันเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด เฮรอนแห่งอเล็กซานเดรีย (Hero of Alexandria: ค.ศ.10-70) เคยใช้พลังไอน้ำขับเคลื่อนเครื่องจักรกลมาแล้ว ทว่านั่นก็เป็นได้แค่ของเล่นชิ้นหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้ก่อเกิดการปฏิวัติใดๆ และถูกลืมเลือนไป กระทั่งเมื่ออยู่ในบริบที่ถูกต้องเหมาะสม เครื่องจักรไอน้ำจึงกลายเป็นพลังที่เปลี่ยนแปลงโลก
อาจเป็นเรื่องยากที่จะยอมรับว่าความเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งของเทคโนโลยีสามารถพลิกโฉมเปลี่ยนแปลงโลกได้ แต่การสำเหนียกถึงบริบททางประวัติศาสตร์และประเด็นความสนใจของศตวรรษที่ 20 ที่ปราศจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นยาปฏิชีวนะ รถยนต์ เครื่องบิน วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ หลอดไฟฟ้า เครื่องซักผ้า เครื่องอบแห้ง ระบบประปา หรือคอมพิวเตอร์ ดูสิ สงครามกับสันติภาพ ความยากไร้กับความมั่งคั่ง ฝันดีกับฝันร้าย ทั้งหมดนี้ย่อมจะต้องแตกต่างจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่นอน
ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีกำลังเกิดขึ้นในอัตราที่เร็วขึ้นเรื่อยๆ และนาโนเทคโนโลยีจะกลายเป็นแกนกลางของการเปลี่ยนแปลงในช่วงทศวรรษต่อๆ ไปภายหน้า ซึ่งในห้วงเวลาไม่กี่ทศวรรษข้างหน้านี้สมรรถนะของเทคโนโลยีอาจเปลี่ยนแปลงไปมากยิ่งกว่ารอบศตวรรษที่ผ่านมาเสียอีก บทเรียนจากการปฏิวัติทางเทคโนโลยีครั้งก่อนๆ จึงเป็นคู่มือที่ดีที่สุดที่จะช่วยนำทางเราต่อไปในอนาคต
แม้นประวัติศาสตร์ได้รับการบอกเล่าอย่างถูกต้อง ในเบื่องแรกสุดก็ยังเป็นเพียงเรื่องของเรื่องราวความเป็นมา ประวัติศาสตร์เทคโนโลยีจึงเป็นเรื่องราวความจำเป็นของมนุษย์กับความเป็นไปได้ในทางกายภาพ การคาดการณ์เทคโนโลยีในอนาคตจึงต้องกล่าวถึงเรื่องราวทำนองเดียวกัน อันเป็นเรื่องราวของการสนองตอบความจำเป็นของมนุษย์เท่าที่เป็นไปได้ภายใต้กฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์ การจะเข้าใจผลกระทบของนาโนเทคโนโลยีได้นั้น เราต้องพิจารณาว่าเทคโนโลยีนี้ทำอะไรได้บ้าง สนองตอบความจำเป็นประเภทไหน รวมทั้งพิจารณาถึงทั้งความจำเป็นกับความเป็นไปได้ว่าเคยมีบทบาทต่อโลกเรามาก่อนอย่างไร คุณจะได้รับทราบเรื่องราวทั้งหมดด้วยหนังสือเล่มนี้
[con·tin·ue]
บทที่ 1 นาโนเทคโนโลยีคืออะไร?: เหตุใดจึงเข้าใจสับสนกันนัก? (What is Nanotechnology? and why is there so much confusion about it?)
บทที่ 2 วิธีการจัดการอนาคต: คำทำนายอนาคตยึดถือเป็นเรื่องจริงจังได้แค่ไหน? (A Handle on the Future: Can you take these predictions seriously?)
บทที่ 3 นาโนเทคโนโลยีในปัจจุบัน: ห้องปฏิบัติการและชีวิต เราจะทำให้ฝันเป็นจริงได้อย่างไร? (Current Nanotechnology: Laboratory and life - and how to get to the real thing from here?)
บทที่ 4 การออกแบบและวิเคราะห์เครื่องจักรนาโน: ทฤษฎี เครื่องมือ ปัจจุบันและอนาคต (Designing and Analyzing Nanomachines: Theory, current tools, and the future)
บทที่ 5 รายละเอียดและการดำเนินงาน: พื้นฐานของเทคโนโลยีเต็มขั้น (Nuts and Bolts: The basics of what a mature nanotechnology will look like)
บทที่ 6 เครื่องยนต์: ขับเคลื่อนเครื่องจักรโมเลกุล (Engines: Making molecular machines go)
บทที่ 7 เทคโนโลยีดิจิทัล: เมื่ออะตอมกลายเป็นหน่วยข้อมูลในโลกดิจิทัล (A Digital Technology: Atoms are the bits of the material world)
บทที่ 8 เครื่องจักรนาโน: มารดาที่พร้อมสำเนาตนเอง (Self-Replication: Mechanical motherhood)
บทที่ 9 อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย: ชีวิตประจำวันในยุคนาโนเทคโนโลยี (Food, Clothing, and Shelter: A day in your life in the age of nanotech)
บทที่ 10 เศรษฐกิจ: ต้องใช้เงินมากแค่ไหนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย (Economics: How much is this going to cost?)
บทที่ 11 การขนส่ง: โลกใบนี้ช่างเล็กเสียจริง (Transportation: It's a very small world, indeed)
บทที่ 12 อวกาศ: โลกที่ใหญ่กว่าซึ่งรอเราอยู่ (Space: Where a much larger world awaits)
บทที่ 13 หุ่นยนต์: ใช้ทำงานไหน ย่อมได้ทั้งสิ้น (Robots: For whatever work there is to be done)
บทที่ 14 ปัญญาประดิษฐ์จะมาเร็วเกินคาด (Artificial Intelligence: Closer than you may think)
บทที่ 15 เรพลิเคเตอร์ล่องหน: เล่นกับไฟ (Runaway Replicators: Playing with fire)
บทที่ 16 อันตรายที่แท้จริง: ผู้ร้ายรายเดิมกับของเล่นมหาภัย (Real Dangers: The same old bad guys, with Nastier toys)
บทที่ 17 การแพทย์นาโน: ซ่อมแซมส่วนที่ผิดปกติในร่างกาย (Nanomedicine: Fixing what's wrong)
บทที่ 18 การปรับปรุง: ทัศนมิติว่าด้วยการแปรสภาพมนุษย์ (Improvements: A perspective on transhumanism)
บทที่ 19 อนาคตที่คาดหวังของมนุษยชาติ: ความสุขตราบชั่วนิรันดร์ (The Human Prospect: Living happily ever after)
อภิธานศัพท์ (Glossary
เกี่ยวกับผู้เขียน
ดร.จอห์น สตอรร์ส ฮอลล์ (John Storrs Hall) ผู้ประดิษฐ์คิดค้นหมอกสารพัดประโยชน์ (utility fog) เป็นหัวหน้านักวิทยาศาสตร์แห่งบริษัท นาโนเร็กซ์ (Nanorex Inc.) และสมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิแห่งสถาบันวิจัยวิศวกรรมโมเลกุล (the Molecular Engineering Research Institute) เคยทำงานเป็นสถาปนิกระบบคอมพิวเตอร์ที่ห้องปฏิบัติการวิจัยคอมพิวเตอร์ศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยรัตเกอร์ส (Rutgers University, Middlesex, New Jersey, USA) ในช่วงปี 1985-1997 เป็นผู้เขียนส่วนที่ว่าด้วยนาโนเทคโนโลยีใน The Macmillian Encyclopedia of Energy และบทความวิทยาศาสตร์อื่นๆ จำนวนมาก รวมทั้งได้รับการอ้างอิงในหนังสือหลายเล่ม
"Reading make a full man, conference a ready man, and writing an exact man. การอ่านทำให้เป็นคนที่สมบูรณ์ การเสวนาทำให้เป็นคนที่พร้อม และการเขียนทำให้เป็นคนที่เที่ยงตรง" - Francis Bacon (1561-1626)
Reading & Working: ยิ่งอ่านก็ยิ่งรู้! ยิ่งทำงานก็ยิ่งเก่ง! หนังสือแปลคัดสรรบนชั้นหนังสือส่วนตัว Beautiful Quietness: เงียบแต่ไม่เหงา! ดินแดนแห่งการอ่านและพื้นที่ทางความคิด โลกของนักอ่านและพรมแดนแห่งความรู้ การอ่านสะท้อนความคิด ความคิดสะท้อนตัวตน ตัวตนสะท้อนจิตวิญญาณ Changing Lives, One Book at a Time ห้องสมุดมีชีวิต ...ชีวิตดีๆ ทีละเล่ม อ่านเถิดชาวไทย! การอ่านคือรากฐานที่สำคัญ [อากาศ อาหาร การอ่าน] If you don't like to read, you haven't found the right book. Readers of the World. pruetsara.wixsite.com