top of page

วัสดุวิศวกรรม (Foundations of Materials Science and Engineering 4/e)


วัสดุวิศวกรรม (Foundations of Materials Science and Engineering 4th edition)

เขียนโดย Professor William Fortune Smith, Ph.D. และ Professor Javad Hashemi, Ph.D. แปลและเรียบเรียงโดยรองศาสตราจารย์แม้น อมรสิทธิ์ รองศาสตราจารย์ ดร.สมชัย อัครทิวา และอาจารย์ธรรมนูญ อุดมมั่น จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล (McGraw-Hill Education) Copyright©2008 ISBN 9789749965382 จำนวน 835 หน้ารวมปก ราคา 580 บาท ซื้อจากศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 28 ธันวาคม 2560

หนังสือเล่มนี้เขียนโดยปรมาจารย์ด้านวัสดุวิศวกรรมและวัสดุศาสตร์อันดับต้นๆ ของโลกและเป็นตำราระดับโลก เป็นที่นิยมใช้ในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก ในฉบับปรับปรุงใหม่เล่มนี้มีเนื้อหาทั้งสิ้น 16 บท โดยได้เพิ่มเติมเนื้อหาจาก edition เดิม อาทิ เรื่องของสมบัติเชิงกลของโลหะ เส้นใยแก้วนำแสง สมบัติด้านทัศนศาสตร์ และวัสดุตัวนำยิ่งยวด โดยครอบคลุมเนื้อหาวิชาวัสดุวิศวกรรมและและวัสดุศาสตร์อย่างครบถ้วน เนื้อหาสาระในหนังสือเล่มนี้นับว่าทันสมัยที่สุด พร้อมบทสรุป คำนิยาม ตัวอย่าง กรณีศึกษา และแบบฝึกหัด เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเรียนรู้และเข้าใจศาสตร์ของวัสดุวิศวกรรมที่ชัดเจนและลึกซึ้งยิ่งขึ้น นับว่าเป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับนิสิตนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ทุกสาขา ตลอดจนนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และผู้สนใจทั่วไป และช่วยให้ผู้อ่านรู้สึกรักที่จะเรียนรู้ในเรื่องราวเกี่ยวกับวัสดุวิศวกรรมและวัสดุศาสตร์ในระดับสูงขึ้นต่อไป

[con·tin·ue] ทดลองอ่าน Click

Content

บทที่ 1 บทนำ (Introduction to Materials Science and Engineering)

บทนำ

1.1 วัสดุและวิศวกรรมศาสตร์ (Materials and Engineering)

1.2 วัสดุศาสตร์และวัสดุวิศวกรรม (Materials Science and Engineering)

1.3 ประเภทของวัสดุ (Type of Materials)

1.3.1 วัสดุประเภทโลหะ (Metallic Materials)

1.3.2 วัสดุพอลิเมอร์ (Polymeric Materials)

1.3.3 วัสดุเซรามิก (Ceramic Materials)

1.3.4 วัสดุผสม (Composite Materials)

1.3.5 วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Materials)

1.4 การแข่งขันกันระหว่างวัสดุประเภทต่างๆ (Competition among Materials)

1.5 ความก้าวหน้าใหม่ๆ ในวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี และแนวโน้มในอนาคต (Recent Advances in Materials Science and Technology and Future Trends)

1.5.1 วัสดุชาญฉลาดหรือวัสดุสมาร์ท (Smart Materials)

1.5.2 วัสดุนาโน (Nanomaterials)

1.6 การออกแบบและการเลือกใช้วัสดุ (Design and Selection)

1.7 สรุป (Summary)

1.8 คำนิยาม (Definitions)

บทที่ 2 โครงสร้างอะตอมและพันธะเคมี (Atomic Structure and Bonding)

2.1 โครงสร้างของอะตอม (Atomic Structure)

2.2 เลขอะตอมและมวลอะตอม (Atomic Number and Atomic Masses)

2.3 โครงสร้างทางอิเล็กทรอนิกส์ของอะตอม (The Electronic Structure of Atoms)

[เนื้อหาตั้งแต่เริ่มต้นบทที่ 2 จนถึงหัวข้อ 2.3.3 ไม่มีเนื้อความ เพราะเนื้อหาขาดหายไปตั้งแต่หน้าที่ 19 จนถึงหน้าที่ 34 (หายไป 16 หน้า) เป็นความผิดพลาดในการเรียงพิมพ์เข้าเล่มหนังสือของสำนักพิมพ์ แต่ต้นฉบับภาษาอังกฤษได้ปรับปรุงเป็น 5th edition แล้ว จึงรอฉบับแปลภาษาไทยครั้งถัดไป]

2.3.4 โครงสร้างอิเล็กทรอนิกส์ (การจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนในโครงสร้าง) และความว่องไวต่อปฏิกิริยาเคมี

2.4 ชนิดของพันธะอะตอมและพันธะโมเลกุล (Types of Atomic and Molecular Bonds)

2.4.1 พันธะปฐมภูมิของอะตอม

2.4.2 พันธะทุติยภูมิของอะตอมและพันธะโมเลกุล

2.5 การเกิดพันธะไอออนิก (Ionic Bonding)

2.5.1 พันธะไอออนิกโดยทั่วไป (Ionic Bonding in General)

2.5.2 แรงดึงดูดระหว่างไอออนของไอออนคู่ (Interionic Forces for an Ion Pair)

2.5.3 พลังงานระหว่างไอออนคู่

2.5.4 การจัดตัวของไอออนในของแข็งไอออนิก

2.5.5 พลังงานพันธะของของแข็งไอออนิก

2.6 พันธะโควาเลนซ์ (Covalent Bonding)

2.6.1 พันธะโควาเลนซ์ในโมเลกุลของไฮโดรเจน (Covalent Bonding in the H2)

2.6.2 พันธะโควาเลนซ์ในโมเลกุลที่ประกอบด้วย 2 อะตอมอื่นๆ

2.6.3 พันธะโควาเลนซ์ของคาร์บอน (Covalent Bonding by Carbon)

2.6.4 การเกิดพันธะโควาเลนซ์ในโมเลกุลที่มีคาร์บอน (Covalent Bonding iin Carbon-Containing Molecules)

2.6.5 เบนซีน (Benzene)

2.7 พันธะโลหะ (Metallic Bonding)

2.8 พันธะทุติยภูมิ (Secondary Bonding)

2.8.1 Fluctuating Dipole

2.8.2 Permanent Dipoles

2.9 พันธะผสม (Mixed Bonding)

2.9.1 พันธะผสมไอออนิก-โควาเลนซ์

2.9.2 พันธะผสมชนิดที่เป็นพันธะโลหะ-โควาเลนซ์

2.9.3 พันธะผสมที่เป็นพันธะโลหะ-ไอออนิก

2.10 สรุป

2.11 คำนิยาม

บทที่ 3 โครงสร้างของผลึกและอสัณฐานในวัสดุ (Crystal and Amorphous Structure in Materials)

3.1 สเปสแลตทิซและหน่วยเซลล์ (Space Lattice and Unit Cells)

3.2 ระบบผลึกและบราเวส์แลตทิซ (Crystal Systems and Bravais Lattices)

3.3 ความสำคัญของโครงสร้างผลึกของโลหะ

3.3.1 โครงสร้างผลึกแบบ Body-Centered Cubic (BCC)

3.3.2 โครงสร้างผลึกแบบ Face-Centered Cubic (FCC)

3.3.3 โครงสร้างผลึกแบบ Hexagonal Close-Packed (HCP)

3.4 ตำแหน่งของอะตอมต่างๆ ในหน่วยเซลล์คิวบิก

3.5 ทิศทางในหน่วยเซลล์คิวบิก

3.6 ดัชนีมิลเลอร์ของระนาบผลึกในหน่วยเซลล์คิวบิก

3.7 ระนาบและทิศทางในโครงสร้างผลึกเฮกซะโกนัล

3.7.1 ดัชนีของระนาบผลึกในหน่วยเซลล์ HCP

3.7.2 ดัชนีทิศทางในหน่วยเซลล์ HCP

3.8 เปรียบเทียบโครงสร้างผลึกของ FCC, HCP และ BCC

3.8.1 โครงสร้างผลึกของ FCC และ HCP (FCC and HCP Crystal Structure)

3.8.2 โครงสร้างผลึกของ BCC (BCC Crystal Structure)

3.9 การคำนวณหาความหนาแน่นของหน่วยเซลล์เชิงปริมาตร พื้นที่ และเชิงเส้น

3.9.1 ความหนาแน่นเชิงปริมาตร (Volume Density)

3.9.2 ความหนาแน่นของอะตอมเชิงพื้นที่ (Planar Atomic Density)

3.9.3 ความหนาแน่นของอะตอมเชิงเส้น (Linear Atomic Density)

3.10 ภาวะพหุสัณฐานหรือการมีอัญรูป (Polymorphism or Allotropy)

3.11 การวิเคราะห์โครงสร้างผลึก (Crystal Structure Analysis)

3.11.1 แหล่งกำเนิด X-Ray (X-Ray Sources)

3.12 วัสดุอสัณฐาน (Amorphous Materials)

3.13 สรุป

3.14 คำนิยาม

บทที่ 4 การแข็งตัวของโลหะ ความไม่สมบูรณ์ของผลึก และกระบวนการรแพร่ภายในของแข็ง (Solidification and Crystalline Imperfections)

4.1 การแข็งตัวของโลหะ

4.2 การผลิตวัสดุผลึกเดี่ยว

4.3 สารละลายของแข็งโลหะ

4.4 ความไม่สมบูรณ์ของผลึก

4.5 เทคนิคในการทดลองสำหรับการศึกษาโครงสร้าง Microstructure และความไม่สมบูรณ์

4.6 สรุป

4.7 คำนิยาม

บทที่ 5 กระบวนการที่ถูกกระตุ้นด้วยความร้อนและการแพร่ภายในของแข็ง (Thermally Activated Processes and Diffusion in Solids)

5.1 อัตราเร็วของกระบวนการในสภาวะของแข็ง

5.2 การแพร่ของอะตอมในของแข็ง

5.3 การประยุกต์ใช้กระบวนการแพร่ในอุตสาหกรรม

5.4 ผลของอุณหภูมิที่มีต่อการแพร่ของอะตอมในของแข็ง

5.5 สรุป

5.6 คำนิยาม

บทที่ 6 สมบัติเชิงกลของโลหะ 1 (Mechanical Properties of Metals I)

6.1 กระบวนการผลิตโลหะและโลหะผสม (The Processing of Metals and Alloys)

6.2 ความเค้น

บทที่ 7 สมบัติเชิงกลของโลหะ 2 (Mechanical Properties of Metals II)

บทที่ 8 เฟสไดอะแกรม (Phase Diagrams)

บทที่ 9 โลหะอัลลอยด์หรือโลหะผสม (Engineering Alloys)

บทที่ 10 วัสดุพอลิเมอร์ (Polymeric Materials)

บทที่ 11 วัสดุเซรามิก (Ceramics)

บทที่ 12 วัสดุผสม (Composite Materials)

บทที่ 13 การกัดกร่อน (Corrosion)

บทที่ 14 สมบัติทางไฟฟ้าของวัสดุ (Electrical Properties of Materials)

บทที่ 15 เส้นใยแก้วนำแสง สมบัติด้านทัศนศาสตร์ และวัสดุตัวนำยิ่งยวด (Optical Properties and Superconductive Material)

บทที่ 16 วัสดุแม่เหล็ก (Magnetic Properties)

บทที่ 17 Biological Materials and Biomaterials (5th edition ยังไม่มีฉบับแปล)

Appendix I. Important Properties of Selected Engineering Materials

Appendix II. Some Properties of Selected Elements

Appendix III. Ionic Radii of the Elements

Appendix IV. Selected Physical Quantities and Their Units References for Further Study by Chapter

เกี่ยวกับผู้แปล

รองศาสตราจารย์แม้น อมรสิทธิ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยม) สาขาเคมี จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโททางด้านเคมีวิเคราะห์ จากมหาวิทยาลัยเทกซัสเอแอนด์เอ็ม (Texas A&M University: TAMU) ประเทศสหรัฐอเมริกา และผ่านการฝึกอบรมจากต่างประเทศหลายสถาบัน เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เป็นอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญการสอนทางเคมีและวัสดุวิศวกรรมมานานกว่า 15 ปี ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานต่างๆ มากมายเช่นเดียวกัน มีผลงานการเรียบเรียงตำราหลายต่อหลายเล่ม นับเป็นอาจารย์อาวุโสที่ในแวดวงเคมีและวัสดุวิศวกรรมให้การยอมรับมาเป็นระยะเวลายาวนาน

รองศาสตราจารย์ ดร.สมชัย อัครทิวา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเคมี จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาวิศวกรรมเคมี จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว (Tokyo Institute of Technology) ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มีประสบการณ์ในการสอนและวิจัย ตลอดจนผลงานแปลและเขียนตำรามาเป็นระยะเวลายาวนานและได้รับการยอมรับในวงกว้าง มีผลงานแปลหนังสือร่วมกับสำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิลที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง อาทิ เทอร์โมไดนามิกส์

อาจารย์ธรรมนูญ อุดมมั่น สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทสาขาวิศวกรรมเคมี จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

 

Knowledge Bank หนังสือคือธนาคารความรู้. ผลักดันการอ่านสู่วาระแห่งชาติ สร้างชาติให้ก้าวหน้าด้วยการอ่าน รวมตำราคัดสรรด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ (Science and Engineering) เสริมองค์ความรู้และสร้างความเชี่ยวชาญในวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมด้วย "การอ่าน" เพื่อพัฒนาศักยภาพตนเองอย่างต่อเนื่อง #โชคดีที่เป็นหนอนหนังสือ pruetsara.wixsite.com

 
bottom of page