top of page

ห้องสมุดลับของฮิตเลอร์ (Hitler's Private Library: The Books That Shaped His Life)


ห้องสมุดลับของฮิตเลอร์

แปลจาก Hitler's Private Library: The Books That Shaped His Life (2008)

เขียนโดย Timothy W. Ryback แปลโดยโรจนา นาเจริญ สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งที่สาม กุมภาพันธ์ 2556 (พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2553) จำนวน 512 หน้า ปกอ่อน ISBN: 9789740205531

เปิดคลังหนังสือของจอมเผด็จการผู้รักการอ่าน เบ้าหลอมผู้นำนาซีที่คนทั้งโลกต้องตะลึง! ก่อนเยอรมนีพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ฮิตเลอร์ได้ชื่อเป็นนักสะสมหนังสือตัวยง เขามีหนังสือในครอบครองถึง 16,000 เล่มในห้องสมุดลับมากกว่า 3 แห่ง ทั้งในเบอร์ลิน มิวนิค และบ้านพักตากอากาศหลายแห่ง หนังสือของฮิตเลอร์มีทั้งแนวประวัติศาสตร์ ปรัชญา การเมือง กวีนิพนธ์และวรรณกรรมคลาสสิก เช่น โรมิโอกับจูเลียต กระท่อมน้อยของลุงทอม และดอน กีโฆเต้ เป็นต้น แต่หนังสือเหล่านี้ไม่ใช่แค่ของสะสม มันมีความหมายต่อความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของอดีตผู้นำนาซีเสมือนเบ้าหลอมตัวตนอดอล์ฟ ฮิตเลอร์บนโลกใบนี้!

ทิโมธี ไรแบ็ก (Timothy W. Ryback) ได้รวบรวมข้อมูลหนังสือของฮิตเลอร์จำนวนนับ 10,000 เล่มที่เหลือรอดมาถึงปัจจุบันเพื่อนำมาวิเคราะห์อิทธิพลที่มีต่อผู้นำนาซีคนนี้ สิ่งที่เขาค้นพบนั้นน่าตื่นตาตื่นใจยิ่ง มันเป็นข้อมูลที่ยังไม่เคยมีใครนำเสนอมาก่อน ชีวประวัติฮิตเลอร์ในฐานะหนอนหนังสือเล่มนี้จะทำให้ผู้อ่านต้องทึ่ง อึ้ง และไม่อยากคลาดสายตาแม้แต่ประโยคเดียว

"เราสามารถบอกว่าใครเป็นอย่างไร จากหนังสือที่เขาอ่าน ทั้งเรื่องรสนิยม ความสนใจ และพฤติกรรม (You tell a lot about a man by the books he keeps - his tastes, his interessts, his habits)" - วอลเทอร์ เบนจามิน (Walter Bendix Schönflies Benjamin: 1892-1940)

คำนำสำนักพิมพ์

นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงเมื่อเดือนสิงหาคม 1945 พร้อมการจากไปของผู้นำเยอรมนีนามว่าอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler: 1889-1945) ภาพลักษณ์ของเขาในสายตาคนทั่วโลกดูจะเป็นชายที่โหดเหี้ยมอำมหิต ผู้คร่าชีวิตชาวยิว เชลยศึก และประชาชนผู้บริสุทธิ์ไปกว่า 11 ล้านคน หลายคนเกลียดชัง หลายคนทึ่ง แต่หนึ่งคำถามที่ทุกคนอยากรู้คือ โดยเนื้อแท้แล้วฮิตเลอร์เป็นคนอย่างไรกันแน่

ทิโมธี ไรแบ็ก นักเขียนสารคดีชื่อดังพยายามให้คำตอบไว้ในหนังสือเล่มนี้ ห้องสมุดลับของฮิตเลอร์คือการเล่าเรื่องราวชีวิตของจอมเผด็จการตั้งแต่วัยหนุ่มจนถึงบั้นปลาย หนังสือแต่ละเล่มที่เขาอ่านสะท้อนภาพชีวิตในแต่ละช่วงซึ่งเป็นวิธีการนำเสนอที่แปลกใหม่ แตกต่างจากชีวประวัติฮิตเลอร์เล่มอื่นๆ ไรแบ็กเชื่อว่าแนวคิดต่างๆ ทั้งเรื่องความเกลียดชังคนยิว การปรับปรุงสายพันธุ์มนุษย์ การยาตราทัพนาซีบุกยึดประเทศในยุโรป การนำเชลยศึกมาใช้ทดลองทางวิทยาศาสตร์ ความมุ่งมั่นเกินธรรมดาและความเคร่งครัดในกฎระเบียบ รวมทั้งบุคลิกทุกอย่างที่หลอมรวมเป็นอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ล้วนมาจากหนังสือทั้งสิ้น มีหลักฐานว่าฮิตเลอร์เป็นคนรักและสะสมหนังสือไว้มากมายกว่า 16,000 เล่ม แต่หลังจากเยอรมนีพ่ายแพ้ต่อฝ่ายพันธมิตร หนังสือเหล่านั้นก็กระจัดกระจายไปทั่ว ปัจจุบันพบอยู่ราวๆ 10,000 เล่ม มีทั้งหนังสือแนวประวัติศาสตร์ ปรัชญา การเมือง กวีนิพนธ์ และวรรณกรรมคลาสสิก ไรแบ็กค้นพบหนังสือจำนวนมากของฮิตเลอร์ที่ห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐอเมริกา ก่อนที่จะขยายขอบเขตการศึกษาไปยังแหล่งอื่นๆ ที่เก็บสะสมหนังสือของฮิตเลอร์ บางส่วนเป็นสมบัติของทายาทสมาชิกพรรคนาซี อยู่ในครอบครองของอดีตคนสนิท หรือรวบรวมมาจากห้องสมุดลับหลายแห่งในเยอรมนี นอกจากนั้นยังมีการติดตามอ่านบันทึกของบุคคลใกล้ชิด และได้พูดคุยกับผู้ที่เคยมอบหนังสือให้ฮิตเลอร์ เช่น อดีตเลขานุการที่อยู่กับฮิตเลอร์จนถึงวาระสุดท้าย เป็นต้น

ไรแบ็กพบว่าหนังสือหลายเล่มมีลายมือฮิตเลอร์เขียนกำกับไว้ตามที่ต่างๆ พร้อมคำถามและความเห็นต่อเนื้อหา เขาตั้งข้อสังเกตว่าฮิตเลอร์ชอบขีดเส้นใต้วรรคทอง ประโยคเด็ด หรือย่อหน้าที่ชื่นชอบ บ่อยครั้งที่ความเห็นต่องานวรรณกรรมของเขาสะท้อนเชื่อมโยงกับพฤติกรรม คำพูด บทสนทนา และนโยบายต่างๆ ที่แสดงออกในฐานะผู้นำพรรคนาซีเยอรมันอย่างไม่น่าเชื่อ เช่น ประโยคติดปากที่เขาชอบพูดต่อสาธารณชนล้วนมาจากผลงานของเช็กสเปียร์ (William Shakespeare: 1564-1616) ความคิดเรื่องชนชั้นและการเหยียดคนยิวได้มาจากการอ่านหนังสือเรื่อง Divine Providence ของนักปราชญ์ชาวเยอรมัน ความคิดที่จะดึงดันทำสงครามต่อไปแม้จะหมดหวังในชัยชนะก็มาจากอัตชีวประวัติของพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชหรือพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 (Frederick II: 1712-1786) และนวนิยายเล่มโปรดของเขาคือ กระท่อมน้อยของลุงทอม (Uncle Tom's Cabin, 1852) ซึ่งมีเนื้อหาโศกเศร้าสะเทือนใจเรื่องการเหยียดสีผิว แต่ฮิตเลอร์กลับมองว่านี่คือชะตากรรมของมนุษย์ที่อ่อนแอ เป็นต้น

เรื่องราวที่กล่าวมานี้อาจจะเป็นเพียงเศษเสี้ยวของประวัติศาสตร์และชิ้นส่วนเล็กๆ ในเบ้าหลอมชีวิตของฮิตเลอร์ แต่ก็ทำให้เห็นชีวิตอีกด้านของผู้นำเผด็จการ ทำให้คนรุ่นหลังเรียนรู้ได้ว่าเพราะเหตุใดเขาจึงกลายเป็นอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เช่นที่เรารู้จักในวันนี้ และตระหนักว่าหนังสือมีอิทธิพลต่อความคิดของคนอ่านมากเพียงใด

คำนำผู้แปล

เล่มนี้ถอดจาก Hitler's Private Library ที่ทิโมธี ไรแบ็ก (Timothy W. Ryback) ใช้เวลาเสาะหาห้องสมุดส่วนตัวของฮิตเลอร์ แล้วนำข้อมูลชีวิตอดีตผู้นำนาซีในส่วนที่เกี่ยวกับหนังสือมาประมวลไว้ในเล่ม เป็นอีกแง่มุมหนึ่งซึ่งหลายๆ คนอาจจะไม่เคยทราบมาก่อนว่าจอมเผด็จการเยอรมนียุคอาณาจักรไรช์ที่ 3 (Third Reich or Großdeutsches Reich (Great-German Reich: 1933-1945) ผู้จุดชนวนสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เป็นหนอนหนังสือเหมือนกัน

ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จำนวนหนังสือในห้องสมุดส่วนตัวของฮิตเลอร์มีกว่า 16,000 เล่ม ปัจจุบันอยู่ในห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐ 1,200 เล่ม นอกนั้นกระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ เป็นที่น่าสังเกตว่าอดีตผู้นำนาซีสะสมหนังสือหลายประเภท ทั้งการ์ตูน โคบาลอินเดียนแดง การผจญภัย นิยาย โภชนาการ ประวัติศาสตร์ ชีวประวัติบุคคลสำคัญ วัฒนธรรม ปรัชญา สถิติ บทละคร บทกวี ฯลฯ ช่วยให้รู้ว่าเขาคิดอย่างไรกับนักคิด นักเขียน นักปรัชญา นักยุทธศาสตร์ และนักการศึกษาแขนงต่างๆ ในสมัยนั้น ฮิตเลอร์ไม่เคยเรียนถึงระดับเทียบเท่ามัธยมปลาย รู้ตัวว่าปมด้อยของเขาอยู่ที่ไร้การศึกษา จึงพยายามศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากการอ่านหนังสือที่สะสมไว้ บางคืนอ่านจนฟ้าสาง หนังสือเหล่านั้นจึงหล่อหลอมตัวตนฮิตเลอร์และแนวคิดของเขา เนื่องจากเป็นคนที่มีความจำดีมากจึงนำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปประยุกต์ใช้กับการเขียน การพูด และการกล่าวคำปราศัย จนกลายเป็นนักพูดที่สามารถสะกดโน้มน้าวใจผู้ฟัง

ผู้วิจารณ์ Hitler's Private Library รายหนึ่งใช้คำพูดว่า "Ryback's useful book brinks us to the mind of the monster" หยาบๆ ก็คือ "ช่วยให้เรารู้ลึกสภาพจิตฮิตเลอร์-อสูรร้ายมากขึ้น" ไม่ว่าใครจะมองฮิตเลอร์อย่างไร แต่ชื่อของเขาปรากฏอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์โลกไปเรียบร้อยแล้ว สงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านไปกว่า 50 ปี แต่โลกไม่มีวันลืมชายผู้นี้ที่ให้บทเรียนมากมายแก่คนรุ่นหลัง อย่างน้อยอดีตของฮิตเลอร์ที่บางคนเปรียบเป็นอสูรร้ายกำลังบอกเราว่า การอ่านหนังสือมีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร

“A little learning is a dangerous thing drink deep, or taste not the Pierian spring. There shallow draughts intoxicate the brain, and drinking largely sobers us again. Fired at first sight with what the muse imparts, in fearless youth we tempt the heights of arts. While from the bounded level of our mind. Short views we take nor see the lengths behind. But more advanced behold with strange surprise, new distant scenes of endless science rise! - หากไม่ศึกษาอย่างลึกซึ้ง แค่เรียนรู้แบบงูๆ ปลาๆ - อันตราย การรู้เพียงผิวเผินอาจทำให้หลงระเริงแล้วเกิดความรู้สึกว่ารู้ดีทุกอย่าง ทั้งๆ ที่รู้ไม่จริง แต่เมื่อเรียนรู้มากขึ้น เรากลับตระหนักว่าไม่มีวันรู้จริงได้หมดทุกอย่าง" - จาก A Little Learning (An Essay on Criticism, 1709) โดยอเล็กซานเดอร์ โปป (Alexander Pope: 1688-1744)

"I know people who read interminably, book after book, from page to page, and yet I should not call them 'well-read people'. Of course they 'know' an immense amount; but their brain seems incapable of assorting and classifying the material which they have gathered from books. They have not the faculty of distinguishing between what is useful and useless in a book; so that they may retain the former in their minds and if possible skip over the latter while reading it, if that be not possible, then--when once read--throw it overboard as useless ballast. - ข้าพเจ้ารู้จักคนที่อ่านหนังสือมาก อ่านทุกเล่มและทุกตัวอักษร แต่ไม่คิดว่าพวกเขาเป็นนักอ่านที่ดี แม้มีความรู้มาก แต่สมองของพวกเขาไม่สามารถจัดระบบและจดจำเนื้อหาสาระที่รับเข้าไปได้ เพราะขาดศิลปะในการคัดกรองสิ่งมีค่าจากสิ่งไร้ค่าในหนังสือเพื่อเก็บไว้ชั่วกาลนาน และเป็นไปได้ว่ามองข้ามสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญอีกด้วย" - จาก Mein Kampf (My Struggle, 1925) โดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler: 1889-1945)

[con·tin·ue]

บทนำ: นักเผาหนังสือ (The Man Who Burned Books)

บทที่ 1 หนังสืออ่านในแนวหน้า 1915 (Frontline Reading, 1915)

"สิ่งที่โลกในศตวรรษ 20 พบว่าน่าทึ่งที่สุดเกี่ยวกับเมืองหลวงของอาณาจักรไรช์มีมากมาย ยกเว้นความสวยงามของอนุสาวรีย์หรือความมั่งคั่งของมรดกทางวัฒนธรรม" - แม็กซ์ ออสบอร์น (Max Osborn: 1870-1946), Berlin Volume 41 ในชุด Famous Cultural Sites พิมพ์ในไลป์ซิก (Leipzig, 1909)

บทที่ 2 ที่ปรึกษา (The Mentor's Trade)

"ไม่ควรคิดว่าความหวังที่จะเป็นเจ้าโลกเป็นการกระหายอำนาจ เบื้องหลังความเชื่อทางศาสนาคือ ท้ายที่สุดเขาจะได้รับอภัยจากการทำบาปทั้งมวล" - จากคำนำของดิทริช เอ็คคาร์ท (Dietrich Eckart: 1868-1923) ในบทละครเรื่อง Peer Gynt (1867) ของเฮนริค อิ๊บเซ่น (Henrik Ibsen: 1828-1906)

บทที่ 3 หนังสือไตรภาคของฮิตเลอร์ (The Hitler Trilogy)

"หลังจากได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 1 ตุลาคม ผมไม่หวังที่จะมีรายได้เป็นเนื้อเป็นหนังจากหนังสือของผมจนกว่าจะถึงกลางเดือนธันวาคม..." - ข้อความในจดหมายฉบับหนึ่งของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ที่ส่งออกจากเรือนจำแลนด์สเบิร์ก (Landsberg Prison) 13 กันยายน 1924

บทที่ 4 คัมภีร์อเมริกัน (An American Bible)

"หากมองที่เชื้อชาติ สหรัฐอเมริกาเป็นเสมือนอาณานิคมของยุโรป สืบเนื่องจากความไม่เข้าใจพื้นฐานทางกายภาพของสายพันธุ์ จึงมักได้ยินคำกล่าวว่าบรรพบุรุษชาวอเมริกันพื้นเมืองในอาณานิคมของอังกฤษที่กลายเป็นสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมาเป็นชนส่วนน้อยผสมผสานกัน นั่นไม่เป็นความจริง ตลอดช่วงสงครามปฏิวัติ ผู้อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานใน 13 อาณานิคมไม่เพียงเป็นนอร์ดิก (Nordic) พันธุ์แท้เท่านั้น แต่เป็นทูโทนิก (Teutonic) เลือดบริสุทธิ์ชาวแองโกล-แซกซอน (Anglo-Saxon) ในความหมายแคบที่สุดอีกด้วย" - เมดิสัน แกรนต์ (Madison Grant: 1865-1937) ใน The Passing of the Great Race (1916)

"แม้สหรัฐอเมริการวมประชากรหลากหลายเข้าด้วยกันเป็นชนชาติใหม่ แต่เมื่อมองลึกลงไปอย่างพินิจพิเคราะห์ ดูเหมือนว่าส่วนใหญ่ของประชากรหลายสัญชาติเหล่านี้มาจากพื้นฐานขององค์ประกอบทางเชื้อชาติเดียวกัน หรืออย่างน้อยก็เกี่ยวข้องกัน" - อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ต้นฉบับที่ไม่ได้ตีพิมพ์ (1928)

บทที่ 5 นักปรัชญาหลงทาง (The Lost Philosopher)

"ยิวที่น่ารำคาญสร้างความด่างพร้อยให้แก่เอกลักษณ์ที่แท้จริงของชาวเยอรมัน" - ข้อความที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ไฮไลต์ในหนังสือ German Essays (1887) ของพอล ลาการ์เด้ (Paul Anton de Lagarde: 1827-1891)

บทที่ 6 สงครามหนังสือ (Book Wars)

"พรรคนาซีไม่ได้นำความคิดดีๆ มีคุณค่ามาสู่ชาวเยอรมัน เพื่อหวังจะได้รับความสนับสนุนจากผู้เลื่อมใสศาสนา อันนับเป็นความปรารถนาและความจำเป็นของพรรคหรอกหรือ?" - จากบทนำของ Foundations of National Socialism (1937) โดยบิชอป อลอยส์ ฮูดัล (Alois Hudal: 1885-1963) 11 กรกฎาคม 1936

บทที่ 7 แรงดลใจ (Divine Inspiration)

"สติปัญญามนุษย์ไม่ใช่พลังขับเคลื่อนหลัก แต่ผลจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิตต่างหากที่ใช่" - แม็กซิมิเลียน ริเดล (Maximilian Riedel) ใน Law of the World

บทที่ 8 หนังสืออ่านในแนวหน้า 1940 (Frontline Reading, 1940)

"พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 2 (Wilhelm II: 1859-1941) สามารถรับความจริงได้และเห็นคุณค่าของความจริง ดังปรากฏจากคำพูดของพระองค์เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1912 ขณะจอมพลวิลเฮล์ม ฟอน ฮันเก้ (Wilhelm Gustav Karl Bernhard von Hahnke: 1833-1912) นายทหารคนสนิท ผู้รับใช้พระองค์มายาวนานกำลังนอนรอความตายบนเตียง พระองค์ตรัสว่า เขาคนเดียวที่พูดความจริงกับฉันเสมอ" - Schlieffen: A Study of His Life and Character for the German People (1921) โดยฮูโก้ ร็อคส์ (Hugo Rochs)

บทที่ 9 ประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 ในมุมมองของฮิตเลอร์ (Hitler's History of the Second World War)

"สงครามครั้งนี้จะถูกบันทึกไว้ว่าเป็นสงครามของประธานาธิบดีรูสเวลต์" - สเวน เฮดิน (Sven Anders Hedin: 1865-1952) ใน America in the Battle of the Continents (1942)

บทที่ 10 ปาฏิหาริย์ผิดนัด (A Miracle Deferred)

"คนเคร่งศาสนากล่าวว่า ความหวังมีเสมอแม้ในสถานการณ์เลวร้ายที่สุด" - โทมัส คาร์ไลส์ (Thomas Carlyle: 1795-1881) ใน History of Friedrich II of Prussia, Called Frederick the Great (1858)

บทตาม: ชะตากรรมหนังสือ (The Fates of Books)

ขอบคุณ (Acknowledgments)

ภาคผนวก A จาก This Is the Enemy (Description of Hitler's Library from This Is the Enemy, 1942) โดยเฟรเดอริก เอิคส์เนอร์ (Frederick Cable Oechsner: 902-1992)

ภาคผนวก B จากรายงานลับของหน่วยต่อต้านการสืบราชการลับที่ 21 กองทัพบกสหรัฐ พฤษภาคม 1945 (Description of the Berghof Book Collection from a Classified Report by the U.S. Army Twenty-First Counterintelligence Corps, May 1945)

ภาคผนวก C ห้องสมุดของมือสมัครเล่น: ชำเลืองห้องสมุดส่วนตัวของฮิตเลอร์ (The Library of a Dilettante: A Glimpse into the Private Library of Herr Hitler, Süddeutsche Zeitung, November 9, 1946) โดยฮันส์ ไบล์ฮาค (Hans Beilhack: 1897-1970)

ภาคผนวก D รายงานเรื่องหนังสือของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และคำแนะนำในเรื่องการจัดเก็บ (Report on the Adolph [sic] Hitler Collection and Recommendations Regarding Its Arrangement, Intern, Rare Books Division, Library of Congress, January 9, 1952) โดยอาร์โนลด์ จาโคเบียส (Arnold John Jacobius: 1916-2002) เจ้าหน้าที่ฝึกงานของเฟรเดอริก กอฟฟ์ (Frederick Richmond Goff: 1916-1982)

หมายเหตุท้ายเล่ม (Notes)

ที่มาของภาพประกอบ (Index)

 

"Reading make a full man, conference a ready man, and writing an exact man. การอ่านทำให้เป็นคนที่สมบูรณ์ การเสวนาทำให้เป็นคนที่พร้อม และการเขียนทำให้เป็นคนที่เที่ยงตรง" - Francis Bacon (1561-1626)

Reading & Working: ยิ่งอ่านก็ยิ่งรู้! ยิ่งทำงานก็ยิ่งเก่ง! หนังสือแปลคัดสรรบนชั้นหนังสือส่วนตัว Beautiful Quietness: เงียบแต่ไม่เหงา! ดินแดนแห่งการอ่านและพื้นที่ทางความคิด โลกของนักอ่านและพรมแดนแห่งความรู้ การอ่านสะท้อนความคิด ความคิดสะท้อนตัวตน ตัวตนสะท้อนจิตวิญญาณ Changing Lives, One Book at a Time ห้องสมุดมีชีวิต ...ชีวิตดีๆ ทีละเล่ม อ่านเถิดชาวไทย! การอ่านคือรากฐานที่สำคัญ [อากาศ อาหาร การอ่าน] If you don't like to read, you haven't found the right book. Readers of the World. pruetsara.wixsite.com

 
bottom of page