top of page

อุทยานแห่งผืนดิน: จากการล่าสัตว์และเก็บของป่า สู่ทุนนิยมโลกาภิวัตน์และโลกหลังจากนี้ (Garden Earth: F


อุทยานแห่งผืนดิน: จากการล่าสัตว์และเก็บของป่า สู่ทุนนิยมโลกาภิวัตน์และโลกหลังจากนี้

แปลจาก Garden Earth: From Hunter and Gatherer to Global Capitalism and Thereafter (2013)

เขียนโดย Gunnar Rundgren แปลโดยเขมลักขณ์ ดีประวัติ ชมพูนุท ดีประวัติ วิภาพร ภูริธนสาร และกนกพร นัชนานนท์เทพ บรรณาธิการโดยกิตติพล เอี่ยมกมล สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา พิมพ์ครั้งทีหนึ่ง มิถุนายน 2557 จำนวน 288 หน้า ปกอ่อน ISBN: 9786167368511

ทุนนิยมนั้นอยู่รอดได้ด้วยการพึ่งพาการเติบโตของสังคมและการหาประโยชน์จากธรรมชาติ แต่ขณะเดียวกันทุนนิยมก็บั่นทอนสิ่งเหล่านี้ และนี่คือวิกฤตที่แท้จริงของระบบทุนนิยม ทางออกของปัญหานี้คือเราจะต้องเปลี่ยนจากกลไกและการใช้เหตุผลแบบเดิมๆ ที่ผลักดันเรามาสู่จุดนี้ไปเป็นหนทางการคิดแบบใหม่ที่เหมาะสมกับสิ่งที่เรากำลังเป็นอยู่มากกว่า ให้ลองมองว่าโลกก็คืออุทยานที่เราต้องคอยดูแลเอาใจใส่ ต้องปฏิบัติต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อย่างให้เกียรติ ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตาม อนาคตของโลกหรือชะตากรรมของอุทยานแห่งนี้ขึ้นอยู่กับพวกเราทั้งหมด

คำว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นคำสำคัญมาหลายปีแล้ว มันหมายความว่าการพัฒนาต่างๆ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมควรมีความยั่งยืนและมั่นคง ประเด็นต่างๆ ทั้งหมดนี้เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน แต่ทุกวันนี้เราก็ยังนำมันมาอภิปรายแยกเป็นเรื่องๆ อยู่ดี เชื่อว่าเราไม่อาจอภิปรายเรื่องภาวะโลกร้อนแยกจากเรื่องปัญหาความยากจน หรือการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนจากทรัพยากรธรรมชาติกับเรื่องระบบเศรษฐกิจ หรือปัญหาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมแยกกับเรื่องการเชื่อมโยงกันระหว่างมนุษย์เรา กล่าวคือสังคมที่เราพัฒนาขึ้นมานั่นเอง - บางตอนจากหนังสือ

"เราทำร้ายผืนดินเพราะเรามองว่ามันเป็นสินค้าที่เราเป็นเจ้าของ แต่ถ้าเรามองว่าผืนดินคือชุมชนที่เราเป็นส่วนหนึ่ง เราจะเริ่มรู้จักใช้มันด้วยความรักและเคารพ" - อัลโด ลีโอโปลด์ (Aldo Leopold: 1887-1949)

"ตลาดอาจนำไปสู่ผลผลิตบางสิ่งที่น้อยเกินไป เช่น การวิจัยพื้นฐานและผลผลิตบางอย่างที่มากเกินไป เช่น มลพิษ" - ดร.โจเซฟ สติกลิตซ์ (Joseph Eugene Stiglitz: 1943-)

จากสำนักพิมพ์

กุนนาร์ รุนด์เกรน (Gunnar Rundgren) นักธรรมชาติวิทยาผู้บุกเบิกแวดวงเกษตรอินทรีย์ในระดับสากล อดีตประธานเกษตรอินทรีย์นานาชาติ หรือ International Federation of Organic Agriculture Movements (IFOAM) หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นจากประสบการณ์อันยาวนานในตลอดช่วงกว่าสามทศวรรษของเขา ทั้งในฐานะเกษตรกรที่ลงมือทำการเกษตรแบบอินทรีย์ด้วยตนเองและในบทบาทของนักคิดเชิงวิพากษ์ที่คงเส้นคงวากับประเด็นเรื่องเกษตรกรรม พาให้เขาเดินทางไปเห็นสภาพการณ์ด้านการเกษตรและการผลิตอาหารในที่ต่างๆ กว่าหนึ่งร้อยประเทศ ได้พบปะผู้คนในระดับต่างๆ ตั้งแต่ชาวนาเกษตรกร ผู้ประกอบการ จนถึงผู้นำประเทศ แต่ไม่ว่าจะไปในที่ใด สองเท้าของเขาก็ยังย่ำไปบนผืนดินและสองมือสัมผัสกับการทำสวนเสมอ เขายังคงใช้ชีวิตใคร่ครวญถึงคำถามอันเป็นสาระเพื่อการเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น และการตอบสนองความท้าทายแห่งยุคสมัยของเรา

เพื่อทำความเข้าใจต่อสถานะปัจจุบันของสังคมโลก และกล่าวให้เฉพาะเจาะจงคือสถานการณ์ต่างๆ ได้แก่ วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม วิกฤตการณ์ด้านพลังงาน และวิกฤตการณ์ด้านอาหาร กุนนาร์จึงได้สร้างงานเขียนเชิงสังเคราะห์นี้ด้วยการมองย้อนไปในวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติ เมื่อการปฏิวัติทางการเกษตรเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากที่มนุษย์ดำรงชีพแบบนักล่าสัตว์และนักเก็บของป่าอันเป็นอรุณรุ่งของประวัติศาสตร์มนุษย์นั้น เกษตรกรรมนับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่มนุษย์เริ่มลงหลักปักฐานและดำรงชีพด้วยการผลิตอาหารเมื่อกว่า 12,000 ปีที่แล้ว จุดเปลี่ยนสำคัญเฉกเช่นเดียวกันนี้ได้เกิดขึ้นเมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงศตวรรษที่ 18 และต่อเนื่องมาถึงศตวรรษที่ 19 ในระยะเวลาเพียงสองร้อยปีนี้เองนับเป็นจุดพลิกผันสำคัญที่ส่งผลกระทบอย่างมากมายมหาศาล ทั้งการก่อรูประบบทุนนิยมที่ตามมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม สังคมอุตสาหกรรมนี้อยู่บนฐานของการอาศัยพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลในแทบทุกรูปแบบหรืออย่างสิ้นเชิง และไม่น่าเชื่อว่าด้วยระยะเวลาเพียงสองร้อยปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ การดำรงอยู่ของมนุษย์ได้เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ต้องใช้ระยะเวลาสะสมมากว่าหลายล้านปี หากกำลังจะหมดลงในไม่กี่สิบปีข้างหน้า รูปแบบชีวิตของวัฒนธรรมอุตสาหกรรมได้ส่งผลต่างๆ มากมายที่สำคัญต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่มีขีดจำกัดจนโลกตกอยู่ในวิกฤตทางด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างก็ไม่สามารถฟื้นฟูหรือทดแทนได้ในระยะเวลาสั้นๆ หรืออาจไม่ได้เลย

หนังสือเล่มนี้นับว่ามีคุณค่าต่อการศึกษาเรียนรู้และทำความเข้าใจความเป็นมาในแง่วิวัฒนาการสังคม เพราะมีเนื้อหาที่ครอบคลุมช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์อันยาวไกลจากชุมชนยุคบรรพกาลจนถึงปัจจุบัน ทั้งยังมีความลุ่มลึกในเชิงการวิเคราะห์สำรวจ ทั้งหมดก็เพื่อจะนำไปสู่การร่างเค้าโครงแห่งอนาคตที่ยั่งยืนและนำมาสู่การวิเคราะห์สำรวจชีวิตของเราทุกคน โลกหลังจากนี้จะมีทางเลือกทางออกอย่างไร การเปลี่ยนแปลงแบบไหนที่จะเป็นจุดพลิกผันสำคัญอันจะช่วยนำพามนุษยชาติให้ไปพ้นระบบทุนนิยมและการผลิตแบบอุตสาหกรรมเพื่อนำมาซึ่งความอยู่รอดของมนุษยชาติ บ่อยครั้งที่นักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญมักเสนอแนวทางแบบซูเปอร์เทคโนโลยีบนฐานความเชื่อที่ว่าทุกปัญหาสามารถแก้ได้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย แต่สำหรับกุนนาร์แล้ว เป็นไปได้ไหมที่เราจะหันมาบ่มเพาะผืนดินให้โลกกลายเป็นสวนดั่งอุทยานแห่งผืนดิน หากเราทุกคนจะสร้างจิตสำนึกเยี่ยงคนสวนที่ใส่ใจบ่มเพาะดูแลผืนดิน โลกก็อาจจะมีความหวัง

หนังสือ 'อุทยานแห่งผืนดิน' ได้ถูกนำมาเป็นหนังสือเพื่อเปิดงานวันสิ่งแวดล้อมโลกที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดขึ้นในวันที่ 4 มิถุนายน 2557 อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ โดยมีคำขวัญในปีนี้ว่า "ยกระดับความคิด แก้วิกฤตน้ำท่วมโลก (Raise Tour Voice, Not the Sea Level)

[con·tin·ue]

คำนำ (Foreword)

"จงเชื่อผู้ที่กำลังแสวงหาความจริง แต่จงสงสัยผู้ที่บอกว่าพบแล้ว (Believe those who are seeking the truth, doubt those who find it.)" - อังเดร ฌีด (André Paul Guillaume Gide: 1869-1951)

บทนำ (Introduction)

ส่วนที่หนึ่ง เรื่องเล่าอันยิ่งใหญ่ (Part I: The Great Narrative)

"เราต้องใช้ความลำบากยากเข็ญกว่าที่เราจะประสบความสำเร็จในการทำให้ตนเองไม่มีความสุขอย่างยิ่ง (It is not without difficulty that we have succeeded in making ourselves so unhappy.)" - ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau: 1712-1778) ต้นกำเนิดและรากฐานของความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์ (On the Origin and Foundations of Inequality among Men, 1754)

บทที่ 1 เตรียมเวที (Setting the Stage)

"มอบขนมปังหนึ่งก้อนให้แรงงานของท่าน ได้รับกลับมาสอง (จากน้ำพักน้ำพักน้ำแรงของเขา) มอบขนมปังหนึ่งก้อนให้กับคนใช้แรงงาน เท่ากับให้สองก้อนแก่ผู้ออกคำสั่ง (Give one loaf to your labourer, receive two from (the work of) his arms. Give one loaf to the one who labours, give two to the one who gives orders.)" - อนุศาสน์แห่งอังค์เชชอง (The Instruction of Ankhsheshonq) นักปราชญ์ชาวอียิปต์โบราณ (100-30 BC)

บทที่ 2 พัฒนาการของสังคม (Development of Modern Society)

"ผู้ที่มีอยู่แล้วจะได้รับมากขึ้นและจะได้รับอย่างอุดมสมบูรณ์ ส่วนผู้ที่ไม่มี แม้แต่สิ่งที่เขามีก็จะถูกพรากไปจากเขา (Whoever has will be given more, and he will have an abundance. Whoever does not have, even what he has will be taken from him.)" - มัทธิว 13:12 (Matthew 13:12)

บทที่ 3 เทคโนโลยีและพลังงานมีอิทธิพลต่อโลกเราอย่างไร? (How Technology and Energy Shape Our World?)

"เรื่องนี้เป็นข่าวหลอกลวงที่น่าเศร้า เพราะคนยุคอุตสาหกรรมไม่ได้กินมันฝรั่งที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์อีกต่อไป ตอนนี้เขาต้องกินมันฝรั่งที่ส่วนหนึ่งทำขึ้นจากน้ำมัน (This is a sad hoax, for industrial man no longer eats potatoes made from solar energy; now he eats potatoes partly made of oil.)" - ดร.ฮาวาร์ด โอดัม (Howard Thomas Odum: 1924-2002) สิ่งแวดล้อม พลังงาน และสังคม (Environment, Power, and Society, 1971)

บทที่ 4 อะไรขับเคลื่อนอะไร? (What Drives What?)

"ชาวอียิปต์โบราณสร้างพีระมิดเพราะพวกเขาเชื่อในชีวิตหลังความตาย เราสร้างตึกสูงระฟ้าเพราะเราเชื่อว่าพื้นที่ใจกลางเมืองใหญ่คือสิ่งที่มีค่ามหาศาล (The ancient Egyptians built pyramids because they believed in an afterlife. We build skyscrapers because we believe that space in downtown cities is enormously valuable.)" - ดร.โดเนลลา เมโดวส์ (Donella H. Meadows: 1941-2001) เลฟเวอร์เรจพอยท์: จุดที่เข้าแทรกแซงได้ในระบบ (Leverage Points: Places to Intervene in a System, 1999)

ส่วนที่สอง ความท้าทายเชิงนิเวศ - คือมหาพายุหรือ? (Part II: Ecological Challenges - A Perfect Storm?)

"มนุษย์ผู้มีจิตสำนึก ผู้ที่เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมของตนเอง ในตอนนี้มีความสามารถอย่างเต็มที่ในการทำลายทั้งตนเองและสิ่งแวดล้อม ด้วยเจตนาที่มีสำนึกอย่างที่สุด (Conscious man, as a changer of his environment, is now fully able to wreck himself and that environment – with the very best of conscious intentions.)" - เกรกอรี เบตสัน (Gregory Bateson: 1904-1980) Steps to an Ecology of Mind (2000)

บทที่ 5 ระบบนิเวศ (Ecosystems)

"ถ้าเราสงสัยว่าจะวัดมูลค่าของต้นไม้อายุห้าร้อยปีได้อย่างไร สิ่งที่ต้องทำก็เพียงแต่ถามว่า ถ้าต้องสร้างมันขึ้นมาใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นจะต้องเสียเท่าใด และถ้าต้องสร้างแม่น้ำใหม่ สร้างบรรยากาศใหม่ล่ะ (If we have doubts about how to value a 500-year-old tree, we need only ask how much it would cost to make a new one from scratch? Or a new river? Or a new atmosphere?)" - พอล ฮอว์เกน (Paul Gerard Hawken: 1946-) Natural Capital (2005)

บทที่ 6 พลังงาน (Energy)

"พลังงานคือเงินตราในโลกอนาคต (Energy is the currency of the future)" - ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นวาบูดิเก มอร์แกน (CEO Nwabudike Morgan, Sid Meier's Alpha Centauri)

บทที่ 7 ภาวะโลกร้อน (Global Warming)

"แก่นแท้ของปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงคือปัญหาด้านจริยธรรม มันคือปัญหาการกระจายรายได้ และเป็นปัญหาการกระจายรายได้ในมิติที่ปกติเรามักไม่ค่อยได้นึกถึง (The climate change problem is at its heart an ethical problem. It's a problem of income distribution and it's a problem of income distribution with dimensions that we don't usually think about very much.)" - ดร.รอสส์ การ์โนต์ (Ross Gregory Garnaut: 1946-) บทนำของ Climate Change and Social Justice (2009)

บทที่ 8 ทรัพยากรของเราจะหมดหรือไม่? (Will We Run Out of Resources?)

"หากคุณคือไก่งวงที่ถูกเลี้ยงมานาน คุณจะคิดได้แค่อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าไม่เชื่อมั่นอย่างไร้เดียงสาว่าการเลี้ยงดูนั้นยืนยันว่าคุณปลอดภัย คุณก็ต้องมีไหวพริบพอที่จะพิจารณาว่าการเลี้ยงดูคือการยืนยันถึงอันตรายของการที่คุณจะถูกเอาไปทำเป็นอาหารเย็น" - ดร.นาซซิม นิโคลัส ทาเล็บ (Nassim Nicholas Taleb: 1960-) The Black Swan: The Impact of the Highly Improbable (2007)

บทที่ 9 สังคมสารเคมี (The Chemical Society)

"สิ่งที่เราต้องเผชิญไม่ใช่แค่การรับยาพิษจำนวนหนึ่งเป็นครั้งคราวที่บังเอิญเข้าไปอยู่ในอาหารบางชิ้น แต่เราต้องเผชิญกับการรับสารพิษอย่างต่อเนื่องยาวนานในสิ่งแวดล้อมทั้งหมดของมนุษย์" - ราเชล คาร์สัน (Rachel Louise Carson: 1907-1964) Silent Spring (1962)

บทที่ 10 น้ำและผืนดิน (Water and Land)

บทที่ 11 เกษตรกรรมและการผลิตอาหาร (Agriculture and Food Production)

บทที่ 12 ปัญหาสิ่งแวดล้อมในการทำเกษตรกรรม (Environmental Problems in Farming)

บทที่ 13 การบริโภคอาหารและตลาด (Food Consumption and Markets)

บทที่ 14 เกษตรกรรมและการเพิ่มผลผลิต (Productivity in Farming)

บทที่ 15 การเติบโตสีเขียวและทุนนิยมสีเขียว (Green Growth and Green Capitalism)

บทที่ 16 ประชากรและการอพยพย้ายถิ่น (Population and Migration)

บทที่ 17 มนุษย์กับธรรมชาติ (Man and Nature)

ส่วนที่สาม สังคมของเรา (Part III: Our Society)

บทที่ 18 อะไรขับเคลื่อนแรงจูงใจของมนุษย์? (What Drives Human Enterprise?)

บทที่ 19 โลกาภิวัตน์ (Globalization)

บทที่ 20 ประเด็นว่าด้วยการพัฒนา (Development Issues)

บทที่ 21 การเติบโตและความเป็นอยู่ที่ดี (Growth and Well-Being)

บทที่ 22 ทรัพยากรสาธารณะ (Common Resources)

บทที่ 23 การกระจายทรัพยากร (Distribution of Resources)

บทที่ 24 มนุษย์กับเทคโนโลยี (Man and Technology)

บทที่ 25 การทำงานและเวลาว่าง (Work and Leisure)

บทที่ 26 ระบบเศรษฐกิจวันนี้ (Capitalism and Market Economy Today)

บทที่ 27 ความชอบธรรมของระบบทุนนิยม (The Legitimacy of Capitalism)

ส่วนที่สี่ อะไรอยู่ข้างหน้าเรา? (Part IV: What Lies Ahead of Us?)

บทที่ 28 จุดจบของการล่าอาณานิคม (The End of Colonization)

บทที่ 29 เส้นทางและเป้าหมาย (The Path and the Goal)

บทที่ 30 ความเปลี่ยนแปลง (The Changes)

บทที่ 31 จัดระบบเศรษฐกิจใหม่ (Reorganizing the Economy)

บทที่ 32 เราจะจัดระเบียบระบบสังคมอย่างไร? (How We Organize Society?)

บทที่ 33 อุทยานแห่งผืนดิน (Garden Earth)

อ้างอิง (References)

เกี่ยวกับผู้เขียน

กุนนาร์ รุนด์เกรน (Gunnar Rundgren) เป็นนักคิดเชิงวิพากษ์ที่มีประสบการณ์การทำงานมากว่า 100 ประเทศทั่วโลก นับแต่ปี 1977 เขาได้ทำงานกับเกือบทุกส่วนของการเกษตรอันทรีย์ ตั้งแต่ลงมือทำฟาร์มไปจนถึงออกนโยบาย เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นที่ปรึกษาอาวุโสของโกรลิงค์เอบี (www.grolink.se) บริษัทที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบการออกใบรับรองมาตรฐาน พัฒนานโยบาย พัฒนาโครงการ พัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดและโปรแกรมการฝึกอบรมระดับนานาชาติ เป้าหมายหลักอยู่ที่ประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้เขายังเคยเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรไม่แสวงผลกำไร รัฐบาล บริษัทเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ เช่น OECD (The Organisation for Economic Cooperation and Development), UNEP (United Nations Environment Programme), UNCTAD (United Nations Conference on Trade and Development), World Bank และ FAO (Food and Agriculture Organization) รุนด์เกรนเป็นผู้ริเริ่มองค์กรเพื่อการเกษตรอินทรีย์หลายแห่งในสวีเดน รวมถึงยี่ห้อที่ได้รับฉลากสิ่งแวดล้อมอย่าง KRAV (www.krav.se) ซึ่งเขาเป็นผู้อำนวยการในช่วง 8 ปีแรก และเป็นประธานกรรมการโครงการการให้การรับรองคนแรกของสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) ในช่วงปี 1922-1997 เป็นประธาน IFOAM ระหว่างปี 2000-2005 และเป็นสมาชิกคณะกรรมการผู้ก่อตั้งพันธมิตรผู้ออกฉลากและใบรับรองด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมระหว่างประเทศ (ISEAL Alliance)

รุนด์เกรนมีผลงานหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับการเกษตรอินทรีย์ ในปี 2010 เขาตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับความท้าทายด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของโลกชื่อ 'Trädgården Jorden: Från Fångstsamhälle till Global Kapitalism och Därefter (Garden Earth: From Hunter and Gatherer to Global Capitalism and Thereafter)' ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาญี่ปุ่น ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ตามลำดับ นอกจากนี้เขายังเป็นผู้เขียนร่วมของหนังสือ 'Jorden vi Äter (2012)' ว่าด้วยความท้าทายในการจัดหาอาหารให้กับประชากรโลกอย่างยั่งยืน รุนด์เกรนได้รับปริญญากิตติมศักดิ์สาขาวิทยาศาสตร์จาก Uganda Martyrs University ในปี 2009 และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกของสมาคมการเกษตรและป่าไม้แห่งชาติของสวีเดนในปีเดียวกัน

 

"Reading make a full man, conference a ready man, and writing an exact man. การอ่านทำให้เป็นคนที่สมบูรณ์ การเสวนาทำให้เป็นคนที่พร้อม และการเขียนทำให้เป็นคนที่เที่ยงตรง" - Francis Bacon (1561-1626)

Reading & Working: ยิ่งอ่านก็ยิ่งรู้! ยิ่งทำงานก็ยิ่งเก่ง! หนังสือแปลคัดสรรบนชั้นหนังสือส่วนตัว Beautiful Quietness: เงียบแต่ไม่เหงา! ดินแดนแห่งการอ่านและพื้นที่ทางความคิด โลกของนักอ่านและพรมแดนแห่งความรู้ การอ่านสะท้อนความคิด ความคิดสะท้อนตัวตน ตัวตนสะท้อนจิตวิญญาณ Changing Lives, One Book at a Time ห้องสมุดมีชีวิต ...ชีวิตดีๆ ทีละเล่ม อ่านเถิดชาวไทย! การอ่านคือรากฐานที่สำคัญ [อากาศ อาหาร การอ่าน] If you don't like to read, you haven't found the right book. Readers of the World. pruetsara.wixsite.com

 
bottom of page