top of page

ตัวนำยวดยิ่งพื้นฐาน (Superconductor)


ตัวนำยวดยิ่งพื้นฐาน (Superconductor)

เขียนโดยรองศาสตราจารย์ ดร.พงษ์แก้ว อุดมสมุทรหิรัญ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2559 ISBN 9789740335221

หนังสือตัวนำยวดยิ่งพื้นฐานเล่มนี้ได้รวบรวมเรื่องราวของตัวนำยวดยิ่งทั้งในด้านทฤษฎีและด้านการทดลอง นำมาเขียนต่อกันเป็นเรื่องราวตามวันเวลา มีประวัติศาสตร์การทดลอง การค้นพบแทรกอยู่เรื่อยๆ ตามวันเวลาที่เปลี่ยนผ่าน ไล่เรียงมาตั้งแต่ตัวนำยวดยิ่งตัวแรกในปรอทซึ่งต่อมาถูกเรียกว่าตัวนำยวดยิ่งแบบดั้งเดิม การนำเสนอทฤษฏี BSC ที่สามารถใช้อธิบายตัวนำยวดยิ่งแบบดั้งเดิมได้ดี แต่มีหลักการที่ว่ากลไกหลักของการเกิดสภาพนำยวดยิ่งเกิดจากอิเล็กตรอนสองตัวที่ดึงดูดกัน ต่อมาเป็นการค้นพบตัวนำยวดยิ่งที่มีอุณหภูมิวิกฤตสูงกว่าจุดที่ทฤษฎี BSC อธิบายได้ซึ่งต่อมาเรียกว่าตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง ท้ายที่สุดนำเสนอการทดลองเพื่อเตรียมตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง รวมถึงการประยุกต์ใช้งานที่มีในปัจจุบัน

Content

บทที่ 1 การค้นพบตัวนำยวดยิ่ง

เนื่องจากฟิสิกส์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยจะทำการศึกษาในแง่มุมของขอบเขตต่างๆ ที่มนุษย์ยังไม่รู้หรือยังไม่เคยมีการศึกษา หรือมีการศึกษาแล้วแต่ความรู้ที่ได้ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ตัวอย่างการศึกษาทางฟิสิกส์ เช่น การศึกษาเพื่อหาวัตถุที่แข็งที่สุดในโลก การศึกษาเพื่อหาอุณหภูมิที่ร้อนที่สุดที่มนุษย์สามารถทำได้ การศึกษาเพื่อหาอุณหภูมิที่เย็นที่สุด การศึกษาเพื่อหาวัตถุที่เล็กที่สุด การศึกษาเพื่อหาความเร็วที่เร็วที่สุด หรืออะไรอีกมากมาย

เนื้อหาในบทนี้ส่วนแรกจะกล่าวถึงการศึกษาเพื่อหาหรือเพื่อสร้างอุณหภูมิที่เย็นที่สุดในโลก ซึ่งจากการศึกษาดังกล่าวทำให้มีการค้นพบวัสดุชนิดใหม่ที่ไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อนที่เรียกว่าตัวนำยวดยิ่ง เรื่องเกี่ยวกับว่าสถานะอะไรที่เย็นที่สุดในโลกก็เป็นประเด็นหนึ่งที่มีความสนใจกันอย่างมาก เนื่องด้วยวิชาอุณหพลศาสตร์เป็นวิชาแรกๆ ที่นักฟิสิกส์มีการค้นพบและทำการทดลองได้อย่างชัดเจน โดยจากกฎทางอุณหพลศาสตร์พบว่าอุณหภูมิที่ต่ำที่สุดที่เป็นไปได้ก็คือใกล้ศูนย์องศาสัมบูรณ์หรือศูนย์เคลวินให้มากที่สุด ซึ่งนักฟิสิกส์ยังไม่เคยทำการทดลองได้เลยว่าใกล้ศูนย์เคลวินมากที่สุดนั้นสามารถทำได้อย่างไรจนกระทั่งในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม ความพยายามทดลองให้ได้ตามเป้าหมายก็ถูกทำเรื่อยมาจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่ย่อท้อ และในส่วนที่เหลือจะกล่าวถึงการศึกษาค้นคว้าด้านตัวนำยวดยิ่งเพื่อศึกษาสมบัติทางฟิสิกส์ของวัสดุนี้ ท้ายที่สุดก็ได้สมบัติที่น่าทึ่งออกมาในหลายประเด็น

1.1 ก่อนการค้นพบตัวนำยวดยิ่ง

การศึกษาเรื่องเกี่ยวกับอุณหพลศาสตร์มีการศึกษามาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยอริสโตเติล (Aristotle) ในที่นี้ขอกล่าวโดยสังเขปพอให้เห็นภาพรวมของความพยายามในการศึกษาค้นคว้าและนำความรู้มาต่อยอดเพื่อศึกษาให้เกิดความก้าวหน้าทาง

1.2 การค้นพบตัวนำยวดยิ่งในปรอท

1.3 ประวัติการค้นพบหลังจากการค้นพบตัวนำยวดยิ่งในปรอท

1.4 สมบัติของสถานะนำยวดยิ่ง

1.5 อุณหภูมิวิกฤตของตัวนำยวดยิ่ง

สรุปเนื้อหา

ตัวนำยวดยิ่งถูกค้นพบโดยไฮค์ คาเมอร์ลิงค์ ออนเนส (Heike Kamerlingh Onnes: 1853-1926) ในปี 1911 ซึ่งถ้านับเวลาจนถึงปัจจุบัน การค้นพบนี้มีอายุมากกว่า 100 ปี ตัวนำยวดยิ่งมีสมบัติที่สำคัญอยู่หลายประการ เช่น ความต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์ ความไม่ต่อเนื่องของเส้นแรงแม่เหล็ก ปรากฏการณ์ไมสเนอร์ (Meissner Effect) การกระโดดของค่าความจุความร้อน และปรากฏการณ์โจเซฟสัน (Josephson Effect) แต่สมบัติที่โดดเด่นและรู้จักกันอย่างกว้างขวางมี 2 ประการคือ การมีความต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์และการเกิดปรากฎการณ์การยกตัวด้วยแม่เหล็กได้หรือที่เรียกว่าปรากฏการณ์ไมสเนอร์ ความน่าสนใจของตัวนำยวดยิ่งอยู่ที่การนำมาประยุกต์ใช้งานที่สามารถนำมาทำอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงได้เพราะมีความต้านทานไฟฟ้าเป็นศูนย์ แต่อย่างไรก็ดี ตัวนำยวดยิ่งก็ยังมีข้อจำกัดในการใช้งาน เนื่องจากจะต้องมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤตซึ่งมีค่าที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับอุณหภูมิห้อง การพัฒนาตัวนำยวดยิ่งจึงมีประเด็นหลักอยู่ที่การค้นคว้าหาตัวนำยวดยิ่งที่สามารถนำมาใช้ที่อุณหภูมิห้องได้ โดยในปัจจุบันเรียกตัวนำยวดยิ่งที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 35 เคลวิน ว่าตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิต่ำหรือตัวนำยวดยิ่งแบบดั้งเดิม

บทที่ 2 ทฤษฏีตัวนำยวดยิ่งแบบมหภาค

2.1 แบบจำลองของไหลสองส่วน

2.2 สมการของลอนดอน

2.3 ทฤษฎีกินซ์เบิร์กแลนดาว

2.4 ตัวนำยวดยิ่งประเภทที่หนึ่ง

2.5 ตัวนำยวดยิ่งประเภทที่สอง

สรุปเนื้อหา

บทที่ 3 ทฤษฎีตัวนำยวดยิ่งแบบจุลภาค

3.1 ประวัติและแนวความคิดของทฤษฎี

3.2 ทฤษฎี BCS

สรปเนื้อหา

บทที่ 4 การค้นพบตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง

4.1 ก่อนการค้นพบตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง

4.2 การค้นพบตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง

4.3 หลังการค้นพบตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง

สรุปเนื้อหา

บทที่ 5 การศึกษาตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง

5.1 ตัวนำยวดยิ่งแบบคิวเพร์ท

5.2 ตัวนำยวดยิ่งแมกนีเซียมไดโบไรด์

5.3 ตัวนำยวดยิ่งชนิดมีเหล็กเป็นองค์ประกอบ

5.4 ความแตกต่างระหว่างตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงกับตัวนำยวดยิ่งแบบดั้งเดิม

สรุปเนื้อหา

บทที่ 6 ตัวนำยวดยิ่งแบบต่างๆ

6.1 ตัวนำยวดยิ่งที่มีการจับคู่แบบสปินซิงเกลตและแบบสปินทริปเลต

6.2 การทดลองระบุสมมาตรของการจับคู่ของคู่คูเปอร์ของตัวนำยวดยิ่งแบบคิวเพร์ท

6.3 ตัวนำยวดยิ่งที่มีการควบคู่แบบแรงหรือแบบอ่อน

6.4 การแบ่งประเภทตัวนำยวดยิ่งตามสารประกอบ

สรุปเนื้อหา

บทที่ 7 ทฤษฎีของตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง

7.1 ความหนาแน่นสถานะแบบแวนโฮฟซิงกูลาร์ริตี

7.2 ความจุความร้อนในตัวนำยวดยิ่งที่ไม่สมมาตร

7.3 ช่องว่างพลังงานเทียมในตัวนำยวดยิ่ง

7.4 ค่าคงตัวของทฤษฎี BCS

สรุปเนื้อหา

บทที่ 8 การเตรียมตัวนำยวดยิ่ง Y123

8.1 การแคลซิเนชัน

8.2 การซินเตอร์ริง

8.3 การอบอ่อน

8.4 การสังเคราะห์ตัวนำยวดยิ่ง Y123 ด้วยวิธีปฏิกิริยาของของแข็ง

8.5 การวัดสมบัติของตัวนำยวดยิ่ง Y123

สรุปเนื้อหา

บทที่ 9 ตัวนำยวดยิ่งแมกนีเซียมไดโบไรด์

9.1 สมบัติของตัวนำยวดยิ่งแมกนีเซียมไดโบไรด์

9.2 การคำนวณทางทฤษฎี

สรุปเนื้อหา

บทที่ 10 ก้าวไปข้างหน้ากับตัวนำยวดยิ่ง

10.1 การประยุกต์ใช้ตัวนำยวดยิ่ง

10.2 ตัวนำยวดยิ่งในมุมมองของบริษัท

10.3 แนวทางในการวิจัยและพัฒนา

 

Knowledge Bank หนังสือคือธนาคารความรู้. ผลักดันการอ่านสู่วาระแห่งชาติ สร้างชาติให้ก้าวหน้าด้วยการอ่าน รวมตำราคัดสรรด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ (Science and Engineering) เสริมองค์ความรู้และสร้างความเชี่ยวชาญในวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมด้วย "การอ่าน" เพื่อพัฒนาศักยภาพตนเองอย่างต่อเนื่อง #โชคดีที่เป็นหนอนหนังสือ pruetsara.wixsite.com

 
bottom of page